วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

การสำรวจหาสภาวะที่เป็นองค์ธรรมและองค์คุณในนาลกสูตร (ตอน ๑)

การสำรวจหาสภาวะที่เป็นองค์ธรรมและองค์คุณในนาลกสูตร (ตอน ๑)

การสำรวจหาสภาวะที่เป็นองค์ธรรมและองค์คุณในนาลกสูตร ตอนที่หนึ่ง ธรรมที่ควรรู้เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ โมเนยยะ คือ ความเป็นมุนีขั้นอุกฤษที่ทำกันได้ยาก ของพระนาลกเถระที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคบุคคลทางด้านนี้ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

องค์ประกอบนั้นๆ พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ใช้ในคราวใด?  ซึ่งข้อมูลที่พึงรอบรู้ทั้งหมดทรงตรัสแสดงไว้ในโมเนยยสูตร   (อง.ติก 20/562,ขุ.อิ 25/245) และในนาลกสูตร(ขุ.สุ 25/388-389)

โดยในโมเนยยสูตร มีสาระที่พึงรู้ดังนี้

1.  ธรรมที่ทำให้เป็นมนีเป็นไฉน ?

2.  ข้อกำหนดแห่งโมเนยยธรรมเป็นไฉน ?

3.  บุคคลที่ประพฤติปฏิบัตืโมเนยยธรรมได้มีกี่บุคคล ?

4.  การประพฤติปฏิบัติขูดเกลากิเลส(สัลเลขตา)กับการประพฤติปฏิบัติตนให้ลำบาก(อัตตกิลมัตถานุโยค)โดยสภาวะเป็นสิ่งเดียวกัน หรือไม่ ?

โดยในนาลกสูตร มี สาระที่พึงรู้ ดังนี้

1.  การประพฤติปฏิบัติขูดเกลากิเลสขั้นทั่วไปกับขั้นเข้มข้น(อุกฤษ)ที่ทำได้ยากยิ่ง ต่างกันเป็นไฉน?

2.  จริงหรือ ในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จักมีพระอรหันต์สาวกที่เป็นเลิศ(เอตทัคคะ)ทางโมเนยยคุณเพียงองค์เดียว เท่านั้น?

ในโมเนยยสูตร ทรงสรุปสาระเป็นพระคาถาไว้ดังนี้

"กายมุนึ  วาจามุนึ          มโนมุนิมนาสวํ

มุนึ  โมเนยฺยสมฺปนฺนํ       อาหุ  นินฺหาตปาปกนฺติ. "

แปลว่า  บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงมุนี ผู้เป็นมุนีโดยกาย เป็นมุนีโดยวาจา เป็นมุนีโดยใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนีว่า เป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว. 

(ขุ.อิ.อ.244 ความเป็นมุนีก็คือความเป็นพระอรหันต์ที่กล่าวเน้น พฤตินัยทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั่นเอง)

ดังนั้น จึงเรียกผู้เป็นมุนีที่เพรียบพร้อมด้วยคุณที่เป็นมุนีว่า เป็นผู้ชำระล้างพฤติกรรมชั่วได้สิ้น(คำว่า นินฺหาตปาปกํ ก็ได้แก่ ความเป็นผู้ชำระล้างบาปมลทินได้สิ้นแล้ว ด้วยน้ำ คืออรหัตตมรรค รวมบุคคลผู้เป็นวิปัสสนายานิกที่เจริญโมเนยยธรรมได้ จึงมี 8 บุคคล คือ กัลยาณปุถุชน 1 บุคคล , เสกขบุคคล 7 บุคคล แต่ในสมถยานิก ด้วยข้อกำหนดกามาสวะ เป็นเสี้ยนหนามการเข้านิโรธสมาบัติ สมถยานิกจึงได้บุคคลเพียง 2 บุคคล คือ พระอนาคามีบุคคล กับ พระอรหัตตบุคคล รวมทั้ง

วิปัสสนายานิกกับทั้งสมถยานิก จึงได้บุคคล 9 บุคคล คือ กัลยาณปุถุชน 1 พระอริยบุคคล 8

สัลเลขตา ว่าโดยสภาวะ ก็คือ ความย่ำยีกิเลสด้วยความไม่ละโมบ(อโลภะ) และความไม่ติดข้องด้วยความไม่ลุ่มหลง(อโมหะ) โดยองค์ธรรม ก็คือจิตที่ยิ่งด้วยอโลภะและอโทสะ ซึ่งเกิดจากโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยนั่นเอง

ส่วน อัตตกิลมัตถานุโยค ว่าโดยสภาวะ ก็คือการประพฤติปฏิบัติตนให้ลำบากด้วยวิริยะที่เคร่งออกหน้าสมาธิ ว่าโดยองค์ธรรม ก็คือจิต  ที่มีวิริยะล้ำหน้าสมาธิมากไป ซึ่งเกิดจากอโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยนั่นเอง ดังนั้นการที่กล่าวว่า การประพฤติปฏิบัติโมเนยยธรรมเป็น

อัตตกิลมัตถานุโยค จึงไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลดังกล่าว และเพราะโมเนยยะเป็นปฏิปทาที่ขูดเกลากิเลึสอย่างยื่งยวดกว่าปฏิปทาทั่วไป

ศีลสังวรทั้ง 5 จึงต้องมีครบ มากกว่าปฏิปทาทั่วไปที่ศีลสังวรมีเพียงแค่ 4 คือ จตุปาริสุทธศีลเท่าเท่านั้นก็พอเพียงแล้ว อีกทั้งโมเนยยปฏิปทายังมีสถานภาพเป็นข้อวัตรที่ประพฤติปฏิบัติได้ยากกว่าศีล เช่น ธุดงค์ เป็นต้น ดังนั้น องค์คุณที่เป็นข้อวัตร เช่น ความมักน้อย

ความสันโดษเป็นต้น และธรรมที่เป็นข้อวัตร เช่นธุดงค์เป็นต้น จึงมีปรากฏในโมเนยยปฏิปทา เพื่อให้เพื่อนๆผู้สนใจโมเนยยปฏิปทาเห็นประจักษ์ด้วยการพิจารณาได้เองว่าพระดำรัสที่ทรงตรัสแนะนำพระนาลกเถระส่วนไหนเป็นศีลสังวรข้อใด ใช้ในคราวใด และส่วนไหนเป็นธรรมข้อวัตร ส่วนเป็นองค์คุณข้อวัตร ส่วนนั้นใช้ในคราวใด โดยจะนำสภาวะลักษณะ(องค์ธรรม)แห่งส่วนนั้นๆมานำเสนอเป็นข้อมูลก่อนที่จะพาไปสู่การวิเคราะห์ในนาลกสูตรของท่านนิสสยาจารย์อักษรปัลลวะ

ศีลประเภทสังวร มี 5 ประเภท ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ดังนี้ คือ

1. ปาติโมกขสังวร (อภิ.วิ 35/340)  2. สติสังวร (ที.สี.9/92)  3. ญาณสังวร (ขุ.จูฬ.30/8)  4. ขันติสังวร (ม.มู.12/24)  5. วิริยสังวร (ม.มู 12/17)

ในมหาฎีกาวิสุทธิมรรค (1/6) บอกให้ทราบถึงตัวสภาวธรรม ดังนี้ คือ

1. ชื่อว่า ปาติโมกขสังวร ได้แก่ การรักษา ศีลสิกขาบท อันนับเนื่องในพระวินัย ที่จำแนกเป็น จาริตศีล และ วาริตศีล

2. ชื่อว่า สติสังวร ได้แก่ สติ ที่ป้องกันอินทรีย์ทวารทั้งหก ไม่ให้กิเลสรั่วรดจิตรใจได้

3. ชื่อว่า ญาณสังวร ได้แก่ ปัญญา ที่ปิดกั้น ไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นได้ แม้นปัจจยสันนิสิตศีลก็มีสภาวเป็นเช่นนั้น

4. ชื่อว่า ขันติสังวร ได้แก่ นามขันธ์ ที่มีอโทสะเป็นประธาน คือเป็นใหญ่ ทำกิจเป็นปฏิปักษ์ต่อโทสะโดยตรง เป็นเหตุให้นาม

ขันธ์ที่ประกอบกับตน ไม่โกรธขุ่นเคือง สำเร็จเป็นอธิวาสนขันติได้ เพราะการยอมรับความเป็นจริงได้นั้นเอง

5. ชื่อว่า วิริยสังวร ได้แก่ความเพียรพยายามบรรเทากามวิตก แม้นอาชีวปาริสุทธิศีลก็มีสภาพเช่นนี้

ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า องค์คุณที่เป็นอริยธรรมที่กระตุ้นเตือนให้ภิกษุสมาทานข้อวัตร เช่น ธุดงค์เป็นต้น มี 5 อย่าง คือ

1. ความมักน้อย (อัปปิจฉตา)  ได้แก่ความปราศจากความติดข้องปัจจัย 4 เพราะมีอัชฌาสัยไม่โลภ องค์ธรรมก็คือ อโลภะ ที่เป็นไป

ขณะแสวงหาปัจจัย 4 นั่นเอง

2. ความสันโดษ (สันตุฏฐิตา)  ได้แก่ ความรู้จักพอกับปัจจัย 4 ตามเท่าที่มี ตามเท่าที่ได้ ไม่ปรารถนาปัจจัยอันอื่นอีก  องค์ธรรมก็คือ  อโลภะ ที่เป็นไปขณะได้ปัจจัยมาแล้วนั่นเอง

3. ความประพฤติขูดเกลากิเลส (สัลเลขตา)  ได้แก่ ความย่ำยีกิเลสด้วยความไม่ละโมบ(อโลภะ)และความไม่ติดข้อง(อโมหะ) องค์ธรรมก็คือ จิตที่ยิ่งด้วยอโลภะและอโมหะนั่นเอง

4. ความสงบสงัดจากความคลุกคลี (ปวิเวกตา)  ได้แก่ ความปลีกตัวออกจากหมู่คณะ เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สงบวุ่นวาย ประสงค์จะเร้นจิตไว้ในกรรมฐาน องค์ธรรมก็คือ จิตที่ปราศจากความติดข้อง(อโลภะ)และความหลงติด(อโมหะ)หมู่คณะนั่นเอง

5. ภาวรู้คุณประโยชน์ 4 ข้อเหล่านั้น (อิทมัตถิตา)  ได้แก่ความรอบรู้คุณประโยชน์ 4 ข้อดังได้กล่าวมาแล้ว องค์ธรรมก็คือ ปัญญานั่นเอง

(โปรดติดตามการสำรวจหาสภาวะที่เป็นองค์ธรรมและองค์คุณในนาลกสูตร ตอนที่สอง)

ที่มา : http://dhamma.serichon.us

วัดไชโยวรวิหาร (วัดเกษไชโย)  ตำบลไชโย  อำเภอไชโย  จังหวัดอ่างทอง

ประวัติวัด

วัดไชโยวรวิหาร หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า วัดไชโย เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏใช้ชื่อว่า “วัดเกษไชโย” ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง ไม่มีพระวิหารครอบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย เมื่อมีการสร้างวิหารก็จำเป็นต้องมีการกระทุ้งราก พระพุทธรูปใหญ่ทนการกระเทือนไม่ได้ก็พังทลายลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร ความสูงสุดยอดพระรัศมี 22.65 เมตร และพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” วิหารของวัดไชโยนี้หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มีการสร้างพระอุโบสถรวมทั้งศาลารายรอบพระวิหารรวมอีกสี่หลัง รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี และยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชื่อ “วัดไชโยวรวิหาร” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังคงนิยมเรียกชื่อว่าวัดเกษไชโย

จนเมื่อคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม (ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์พระเทพกวี) ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นที่วัดแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือประมาณปี 2400-2405 จึงทำให้วัดไชโยวรวิหารกลายเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงนับจากนั้น

โดย “พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร มีพุทธลักษณะเป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง

และเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ต่างเป็นที่ประจักษ์และกล่าวขานกันดีของชาวอ่างทองว่ากันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มากจะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะมองเห็นหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับนั่นเอง

ภาพ :  นักรบตะวันออก

ที่มา : https://tourwatthai.com/region/central/angthong/watchaiyoworawihan/





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: