วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 5)

แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 5)

[ณ โคนไม้รังใหญ่ในป่ารักขิตวัน ใกล้หมู่บ้านปาริไลยกะ พระพุทธเจ้าซึ่งหลีกความวุ่นวายมาอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดขึ้นว่า]

..ก่อนนี้เราวุ่นอยู่ด้วยภิกษุชาวโกสัมพีที่ทะเลาะบาดหมางกัน ไม่มีความสุขเลย แต่ตอนนี้เราเว้นห่างจากภิกษุเหล่านั้น อยู่คนเดียวไม่มีใคร เป็นสุขสำราญดี...

[ขณะนั้นมีช้างนาคะเชือกหนึ่งเดินเข้ามาหาพระพุทธเจ้า แล้วใช้งวงตักน้ำตั้งไว้ให้ท่าน ซึ่งท่านได้ทราบถึงความคิดของช้างเชือกนี้ว่าอยากหลีกหนีความวุ่นวายจากช้างตัวอื่นๆในโขลงออกมาอยู่ตัวเดียว ท่านจึงอุทานขึ้นว่า]

...จิตของพญาช้างผู้มีงางามดุจงอนรถนั้น เสมอกันกับจิตของผู้ประเสริฐ เพราะเป็นผู้ยินดีกับการอยู่ผู้เดียวในป่าเหมือนกัน...

_______

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 7 (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 โกสัมพิขันธกะ เสด็จจาริกสู่หมู่บ้านปาริไลยกะ), 2559, น.456-457

หลักพิจารณาว่าพระพุทธเจ้าห้ามหรือไม่ห้ามสิ่งใด,  กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),   (ตอนที่ 4)หมอรักษาพระพุทธเจ้า,  ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณีเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม,  พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์,  ตถาคตเลิกให้พรแล้วคุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว,  แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),  (ตอนที่ 4),   (ตอนที่ 5),  (ตอนจบ),  "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร










Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: