วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พระราชาและนักปราชญ์

พระราชาและนักปราชญ์

โพธ  ปุตฺร  สทา  วิตฺยํ,    มา  เขทาจริยํ  ครุํ;
สเทเส  ปูชิโต  ราชา,     พุโธ  สพฺพตฺถ  ปูชิโต.

ลูกเอ่ย! เจ้าจงหมั่นศึกษาวิชาทุกเมื่อเถิด   เจ้าอย่าทำให้ครูอาจารย์ต้องลำบากใจเลย  เป็นพระราชามีคนบูชาเฉพาะในประเทศของตน   เป็นนักปราชญ์ จะมีคนบูชาในที่ทุกสถาน.

(ธรรมนีติ สิปปกถา ๑๘)

ศัพท์น่ารู้ :

โพธ (จงรู้, จงเรียน, จงตื่น) พุธ+อ+หิ ภูวาทิ. กัตต. วุทธิ อุ เป็น โอ  อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔) ลบ หิ วิภัตติได้บ้าง  หิ โลปํ วา. (รู ๔๕๒)

ปุตฺร = ปุตฺต (แนะพ่อ, ลูกเอ่ย) ปุตฺร+สิ วิภัตติหมวดอาลปนะ ให้ลบ สิ ได้บ้าง

สทา = สพฺพทา (ในกาลทั้งปวง, ตลอดเวลา) สพฺพ+ทา ปัจจัย ในอรรถสัตตมีวิภัตติ, แปลง สพฺพ เป็น ส ได้บ้าง  สพฺพสฺส โส ทามฺหิ วา. (รู ๒๗๗)

วิตฺยํ = วิชฺชํ (วิชา, ความรู้) วิตฺย+อํ (ทั้ง ปุตฺร และ วิตฺย สองคำนี้ น่าจะเป็นคำสันสกฤต ผู้แปลไม่สันทัดศัพท์สันสกฤต จึงขอยกไว้ก่อน, ผิว่าผู้รู้ท่านใดจักช่วยอธิบายเรื่องนี้ จักขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ.

มา (อย่า, ไม่ต้อง) ปฏิเสธนิบาต

เขทาจริยํ ตัดบทเป็น เขท+อาจริยํ (เบียดเบียนอาจารย์, ทำอาจารย์ให้ลำบาก) คำว่า เขท เป็นกิริยาอาขยาต มาจาก ขิท+อ+หิ ภูวาทิ. กัตตุ.

ครุํ (ครู, หนัก) ครุ+อํ

สเทเส (ในประเทศของตน) สก+เทส > สเทส+สฺมึ

ปูชิโต (อันเขาบูชาแล้ว, ถูกบูชาแล้ว) ปูช+อิ+ต > ปูชิต+สิ

ราชา (พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน) ราช+สิ แปลง สิ เป็น อา  สฺยา จ. (รู ๑๑๓)

พุโธ (ผู้รู้, นักปราชญ์) พุธ+สิ

สพฺพตฺถ (ในที่ทั้งปวง, ทุกแห่งหน) สพฺพ+ถ ปัจจัย ในอรรถสัตตมีวิภัตติ, ตฺ อสทิสเทฺวภาวะ  วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒)

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ลูกเอย เจ้าจงรู้วิทยาในกาลทุกเมื่อเถิด   อย่าให้ครูอาจารย์ลำบากเลย เป็นพระราชา  คนยังบูชาแต่ในประเทศของพระองค์  เป็นนักปราชญ์ คนบูชาทุกสถาน.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ลูกเอ๋ย ! เจ้าจงรู้วิชาการทุกเมื่อเถิด  อย่าให้ครูอาจารย์ต้องลำบากใจเลย  ลูกเอ๋ย !  เป็นพระราชา คนก็บูชาแต่ในประเทศของตนเท่านั้น  แต่เป็นนักปราชญ์เขาบูชากันทั้งโลก.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali 

(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา

(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇

27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร ,  25.  ตำรา : ดาบสองคม ,  24.  คนโง่ชอบโอ้อวด , 23.  ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี ,  21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ ,  17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง

(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇

(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา,  (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน,  (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ,  (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์,  (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น,  (10) ถึงจะไกลก็ควรไป,  (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น

👉อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: