วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

คนเขลาที่น่าขัน

คนเขลาที่น่าขัน

วินา  ครูปเทสนฺตํ,    พาโลลงฺกตฺตุมิจฺฉติ;
สมฺปาปุเณ  น  วิญฺญูหิ,     หสภาวํ  กถํ  นุ  โส.

คนเขลาขาดคำแนะนำของครู  ต้องการจะตกแต่งหน้าหรือบทประพันธ์นั้น  
เขาจะไม่ถึงความขบขันโดยเหล่าผู้รู้ได้อย่างไร.  -๑  (ธัมมนีติ อาจริยกถา ๕ สุโพธาลังการ ๑๑)

-๑ คำแปลจากสุโพธาลังการมัญชรี แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.

ศัพท์น่ารู้ :

วินา (เว้น, ขาด, ละเลย) เป็นนิบาตบท

ครูปเทสนฺตํ ตัดบทเป็น ครูปเทสํ+ตํ, ครูปเทส (คำแนะนำ-, คำชี้แจงของครู) ครุ+อุปเทส > ครูปเทส+อํ, วิ. อุปทิสฺสติ เอเตนาติ อุปเทโส (อุปเทสะ คือคำแนะนำ) อุป บทหน้า+ทิส ธาตุ+ณ ปัจจัย, ครูนํ อุปเทโส ครูปเทโส (คำชื้แนะของครู เรียกว่า ครูปเทสะ) (#ขอให้ดู สุโพธาลังการมัญชรี หน้า ๒๖ ประกอบด้วย)

พาโลลงฺกตฺตุมิจฺฉติ ตัดบทเป็น พาโล+อลงฺกตฺตุํ+อิจฺฉติ (คนเขลาต้องการเพื่อประดับ)

สมฺปาปุเณ (พึงถึง, บรรลุ) สํ+ป+√อป+อุณา+เอยฺย, สฺวาทิ. กัตตุ.

น (ไม่, หามิได้) นิบาต

วิญฺญูหิ (จากผู้รู้ ท., โดยเหล่าผู้รู้ ) วิญฺญู+หิ

หสภาวํ, หสฺสภาวํ (ความเป็นผู้เย้ยหยัน) หสภาว+อํ, วิ. หสฺสเตติ หสฺโส, หสฺสสฺส ภาโว หสฺสภาโว (ความเป็นผู้ถูกเย้ยหยัน เรียกว่า หัสสภาวะ).

กถํ นุ (อย่างไรหรือ, หรืออย่างไร, อย่างไรเล่า) สมูหนิบาต

โส (บุคคลนั้น, เขา) ต+สิ สัพพนาม

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนโง่เว้นอุปเทศของครูเสีย  แต่ยังต้องความเป็นผู้โอ่โถงด้วยความรู้

ไฉนหนอ เขาจะไม่ถึงซึ่งความเป็น  ผู้ถูกทวยปราชญ์เย้ยหยัน.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนโง่ไม่ทำตามหลักที่ครูสอน  แต่เขาก็ยังหวังที่จะอวดว่ามีความรู้

ดังนั้น เขาจะไม่ถูกนักปราชญ์เย้ยหยันได้อย่างไร.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali 

(1) อาจริยกถา แถลงอาจารย์ 👇

(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา,  (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน,  (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ,  (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์,  (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น,  (10) ถึงจะไกลก็ควรไป,  (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  , 4. สุตกถา - แถลงความรู้  , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ






Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: