วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

"คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร

"คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร

[สมัยหนึ่ง พระเมตติยะและพระภุมมชกะซึ่งเป็นเพื่อนกับเจ้าวัฑฒลิจฉวี ได้ขอให้ เจ้าวัฑฒลิจฉวี ช่วยทำให้พระทัพพมัลลบุตร ซึ่งมีปัญหากันอยู่กับทั้งสองรูปต้องสึก เจ้าวัฑฒลิจฉวี จึงเข้าไปพูดกับพระพุทธเจ้าว่า]

ว:  ประชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน

[พระพุทธเจ้าได้เรียกพระทัพพมัลลบุตรมาสอบถามว่า]

พ:  ทัพพะ เธอได้ทำสิ่งที่เจ้าวัฑฒลิจฉวีกล่าวหาหรือไม่ ?

ท:  ท่านย่อมทราบดีว่าข้าพระองค์เป็นอย่างไร

[พระพุทธเจ้าได้ถามย้ำอีกสองครั้ง ซึ่งก็ได้คำตอบเหมือนเดิม พระพุทธเจ้าจึงพูดว่า]

พ:  ทัพพะ อย่าแก้คำกล่าวหาด้วยการตอบแบบนี้ ถ้าเธอทำ จงบอกว่าทำ ถ้าไม่ได้ทำ จงบอกว่าไม่ได้ทำ

ท:  ตั้งแต่ข้าพระองค์เกิดมา แม้ในความฝันก็ยังไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรม (การมีเพศสัมพันธ์) ตอนตื่นยิ่งไม่ต้องพูดถึง

[เมื่อฟังแล้ว พระพุทธเจ้าจึงกล่าวกับเหล่าภิกษุว่า]

พ:  ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ไม่ต้องให้คบกับสงฆ์

อุบาสกใดที่ตั้งใจทำให้เหล่าภิกษุเสื่อมเสีย ทำให้อยู่ไม่ได้ ด่าว่าภิกษุ ยุยงให้แตกกัน หรือกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ เราอนุญาตให้คว่ำบาตรอุบาสกดังกล่าวได้

_______

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 9 (พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 ขุททกวัตถุขันธกะ เรื่องทรงอนุญาตการคว่ำบาตร), 2559, น.40-43

หลักพิจารณาว่าพระพุทธเจ้าห้ามหรือไม่ห้ามสิ่งใด,  กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),   (ตอนที่ 4)หมอรักษาพระพุทธเจ้า,  ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณีเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม,  พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์,  ตถาคตเลิกให้พรแล้วคุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว,  แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),  (ตอนที่ 4),   (ตอนที่ 5),  (ตอนจบ),  "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: