วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 4)

แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 4)

[ณ สวนของพระอนุรุทธะ พระนันทิยะ และพระกิมพิละที่ปาจีนวังสทายวัน พระพุทธเจ้าได้พูดว่า]

พ:  อนุรุทธะ พวกเธอพออยู่กันได้ไหม บิณฑบาตอาหารกันลำบากไหม ?

อ:  อยู่กันได้ท่าน ไม่ลำบาก

พ:  พวกเธออยู่ด้วยกันดีไหม มองตารักใคร่กลมเกลียวกันดุจน้ำกับน้ำนมสดอยู่ไหม ?

อ:  เป็นเช่นนั้นท่าน

พ:  พวกเธอใช้วิธีอะไร

อ:  ข้าพระองค์คิดว่า เป็นโชคดีของเราที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนที่ตั้งอยู่ในธรรม ปฏิบัติพรหมจรรย์เหมือนกัน มีเมตตาต่อกันในการใช้วาจาคำพูด ในทางความคิด และในการปฏิบัติต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ พึงรับฟังยอมตามท่านเหล่านี้ ด้วยวิธีแบบนี้ แม้กายของพวกข้าฯจะต่างกัน แต่ใจกลับเหมือนเป็นดวงเดียวกัน

[ฝ่ายพระนันทิยะและพระกิมพิละก็กล่าวเช่นเดียวกันนี้กับพระพุทธเจ้า]

พ:  พวกเธอยังมีความเพียรเผากิเลส เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ประมาทอยู่ไหม ?

อ:  ยังเป็นอยู่ท่าน

พ:  พวกเธอใช้วิธีอะไร ?

อ:  ในกลุ่มพวกข้าฯ รูปใดกลับจากบิณฑบาตมาก่อน รูปนั้นก็จัดการปูที่รองนั่ง ตั้งนำ้ล้างเท้า และที่เช็ดเท้าไว้ ล้างสำรับกับข้าวตั้งไว้ ตั้งน้ำฉันไว้ รูปใดกลับจากบิณฑบาตทีหลัง ถ้ามีอาหารที่ฉันแล้วเหลืออยู่ ถ้ารูปนั้นต้องการฉัน ก็ฉัน ถ้าไม่ต้องการก็เททิ้งหรือล้างเสีย เก็บที่รองนั่ง เก็บน้ำล้างเท้าและตั่งที่เช็ดเท้า ล้างสำรับกับข้าวแล้วเก็บไว้ เก็บน้ำฉัน กวาดโรงฉัน

รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือน้ำในห้องน้ำว่างเปล่า รูปนั้นก็ตักน้ำตั้งไว้

อีกทั้งพวกข้าฯ ก็จะนั่งประชุมสนทนาธรรมกันตลอดคืนยันรุ่งเช้าทุกๆ 5 วันด้วย

[เมื่อฟังแล้ว พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมให้ทั้งสามท่านรับนำไปปฏิบัติต่อไป จากนั้นได้ออกเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านปาริไลยกะ]

_________

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 7 (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 โกสัมพิขันธกะ เสด็จปาจีนวังสทายวัน), 2559, น.453-456 

หลักพิจารณาว่าพระพุทธเจ้าห้ามหรือไม่ห้ามสิ่งใด,  กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),   (ตอนที่ 4)หมอรักษาพระพุทธเจ้า,  ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณีเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม,  พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์,  ตถาคตเลิกให้พรแล้วคุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว,  แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),  (ตอนที่ 4),   (ตอนที่ 5),  (ตอนจบ),  "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: