วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เรื่องไม้ชำระฟัน

เรื่องไม้ชำระฟัน

[สมัยหนึ่ง เหล่าภิกษุไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน (ไม้ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดฟัน) พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า]

ภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์ 5 ข้อ คือ

1. นัยน์ตาแจ่มใส  2. ปากไม่มีกลิ่นเหม็น  3. ลิ้นรับรสอาหารได้บริสุทธิ์เต็มที่  4.  ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร และ  5.  ทำให้เจริญอาหาร

เราอนุญาตให้ใช้ไม้ชำระฟันได้...

____

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 9 (พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 ขุททกวัตถุขันธกะ เรื่องไม้ชำระฟัน), 2559, น.66-67

____

เรื่องไม้ชำระฟัน

[๒๘๒]  สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน ปากมีกลิ่นเหม็น  ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ   พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕

ประการนี้ โทษ ๕ ประการ คือ

๑. ตาฝ้าฟาง    ๒. ปากมีกลิ่นเหม็น  ๓. ประสาทลิ้นรับรสได้ไม่ดี    ๔. น้ำดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร   ๕. เบื่ออาหาร

ภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้แล   ภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์ ๕ ประการ คือ

๑. ตาสว่าง    ๒. ปากไม่มีกลิ่นเหม็น  ๓. ประสาทลิ้นรับรสได้ดี   ๔. น้ำดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร  ๕. เจริญอาหาร

ภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์ ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตไม้ชำระฟัน  

สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เคี้ยวไม้ชำระฟันขนาดยาว ใช้ไม้เหล่านั้นแหละ ตีสามเณร   ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันขนาดยาว  รูปใดเคี้ยว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระฟันยาว ๘ นิ้วเป็น  อย่างมาก และภิกษุไม่พึงใช้ไม้ชำระฟันนั้นตีสามเณร รูปใดตี ต้องอาบัติทุกกฏ”  

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเคี้ยวไม้ชำระฟันสั้นเกินไป จึงหลุดเข้าไปติดในลำคอ  ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ  พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันสั้นเกินไป  รูปใดเคี้ยว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระฟันสั้น ๔ องคุลี  เป็นอย่างต่ำ”

ที่มา : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=07&siri=19

กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),   (ตอนที่ 4)หมอรักษาพระพุทธเจ้า,  ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณีเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม,  พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์,  ตถาคตเลิกให้พรแล้วคุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว,  แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),  (ตอนที่ 4),   (ตอนที่ 5),  (ตอนจบ),  "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร,  




Previous Post
Next Post

0 comments: