วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง

๒. สิปปกถา - แถลงศิลปะ   :  ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง

สุติ  สมฺมุติ  สงฺขฺยา  จ,     โยคา  นิติ  วิเสสกา;

คนฺธพฺพา  คณิกา  เจว,     ธนุเพทา  จ  ปูรณา.

ติกิจฺฉา  อิติหาสา  จ,     โชติ  มายา  จ  ฉนฺทติ;

เกตุ  มนฺตา  จ  สทฺทา  จ,     สิปฺปาฎฺฐารสกา  อิเม.

ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง คือ

๑. สุติ - คัมภีร์เวททั้งสาม หรือ ไตรเพทที่เป็นความรู้หลัก  ๒. สัมมุติ  -  เวทางคศาสตร์ที่เป็นความรู้รอบตัว มีฉันทศาสตร์ ไวยากรณ์ นิรุตติ โชยติ กัปปะ และคู่มืออีก ๓ อย่าง คือ พิธีบวงสรวง พิธีบอกฤกษ์ผูกเรือน และธรรมเนียมประเพณี

๓. สังขยา - ความรู้เกี่ยวกับการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไปของโลก คือ โมกขะหรือนิพพาน  ๔. โยคา - หลักปฏิบัติเกี่ยวกับวิญญาณ เพื่อให้เข้าถึงความดับสนิท คือ นิพพาน   ๕. นีติ  - ความรู้หลักศีลธรรมจรรยา และกฏหมาย

๖. วิเสสิกา  - ความรู้กี่ยวกับเหตุผล โดยการอ้างบุญบาปมาเป็นปทัฏฐาน  ๗. คันธัพพา  - วิชานาฏศิลป์ การฟ้อนรำเป็นต้น  ๘. คณิกา  - วิชาคำนวณ  ๙. ธนุพเพธา  - วิชายิงธนู   ๑๐. ปูรณา  -  วิชาโบราณคดี เกี่ยวกับพงศาวดารดั่งเดิม

๑๑. ติกิจฉา  - วิชาแพทย์ศาสตร์ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลคนไข้  ๑๒. อิติหาสา  - วิชาประวัติศาสตร์ หรือตำนาน  ๑๓. โชติ  - วิชาดาราศาสตร์ การพยากรณ์ตามทางโคจรของดวงดาว แรงดึงดูดของดวงดาว ฤดู วัน เดือน และ ปี

๑๔. มายา  -  วิชาแสดงอุบายเอาชนะข้าศึก เช่น ตำราพิชัยสงคราม  ๑๕. ฉันทติ  -  วิชาฉันทศาสตร์ รู้หลักครุ ลหุ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น

๑๖. เกตุ   -  วิชารู้นิมิต รู้ลางร้าย ลางดีของเมฆ หมอก ควัน อันเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม   ๑๗. มันตา  -  วิชารู้เวทมนต์ คาถา เลขยันต์   ๑๘. สัททา   - วิชารู้เสียงสัตว์ที่บอกลางร้าย ลางดี หรือ รู้คัมภีร์สัททาวิเสส

คำแปลด้านนี้ คัดตามคำบรรยายของพระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต ชมรมนิรุตติศึกษา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ ๒๕ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อนึ่ง ท่านที่สนใจสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติม ได้จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ หน้า ๓๙๐ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เพื่อความจริญแห่งปัญญาและพัฒนาความเป็นพหูสูตรต่อไป

(ธรรมนีติ สิปปกถา ๑๔-๑๕, โลกนีติ ๑๐-๑๑, กวิทัปปณนีติ-มาติกา)

ศัพท์น่ารู้ :

สิปฺปาฎฺฐารสกา ตัดบทเป็น สิปฺปา+อฏฺฐารสกา (ศิลปะ ท. + ๑๘ ประการ)

อิเม (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม

ส่วนศัพท์ที่เหลือชัดเจนดีแล้ว หากต้องแยกธาตุ ปัจจัย วิภัตติ พร้อมตั้งรูปวิภัตติอีกคงต้องใช้เวลาครับ. 

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ก) ความรู้รอบตัว การเข้าใจระเบียบ   การคำนวณ ยันตรศึกษา การรู้นีติ   วิชาพ่อค้า วิชาระบำ วิธีออกกำลังกาย การยิงธนู แลโบราณคดี ฯ

ข) วิชาแพทย์ กาพย์ตำนาน ดาราศาสตร์  พิชัยสงคราม วิชาประพันธ์ วิชาพูด  วิชามนตร์ ไวยากรณ์ เหล่านี้ เป็นศิลป ๑๘ ประเภท ฯ

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ก) ๑. ความรู้รอบตัว ๒. วิชาสังคมศาสตร์ธรรมชาติ ๓. วิชาคำนวณ ๔. วิชายนตรกรรม ๕. วิชานีติศาสตร์   ๖. วิชาพยากรณ์ ๗. วิชานาฏศิลป์ ๘. วิชาพลานามัย ๙.​ วิชาแม่นธนู ๑๐. วิชาโบราณคดี

ข) ๑๑. วิชาแพทย์ ๑๒. วิชาพงศาวดาร ๑๓. วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. วิชาพิชัยสงคราม ๑๕. วิชาการประพันธ์ ๑๖. วิชาการสุนทรพจน์ ๑๗. วิชามนต์ ๑๘. วิชาไวยากรณ์ ศิลปศาสตร์ทั้ง ๑๘ ประการนี้ เป็นศิลปะ.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali 
_______

(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา

(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇

27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร ,  25.  ตำรา : ดาบสองคม ,  24.  คนโง่ชอบโอ้อวด , 23.  ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี ,  21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ ,  17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง

(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇

(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา,  (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน,  (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ,  (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์,  (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น,  (10) ถึงจะไกลก็ควรไป,  (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น













Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: