ครูคือแบบอย่างของศิษย์
อุปชฺฌาจริยานญฺจ, มาตาปิตูนเมว จ;
สกฺกจฺจํ โย นุปฎฺฐาติ, สุโตปิ ตสฺส ตาทิโส.
อุปชฺฌาจริยานญฺจ, มาตาปิตูนเมว จ;
สกฺกจฺจํ โย อุปฎฺฐาติ, สุโตปิ ตสฺส ตาทิโส.
ครูคนใดย่อมไม่บำรุงอุปัชฌาย์แลอาจารย์ ย่อมไม่เลี้ยงดูมารดาแลบิดาโดยเคารพ แม้ศิษย์ของครูนั้น ก็จะเป็นเช่นนั้น.
ครูคนใดย่อมบำรุงรับใช้อุปัชฌาย์แลอาจารย์ และย่อมบำรุงเลี้ยงดูมารดาแลบิดาโดยเคารพ แม้ศิษย์ของครูคนนั้น ก็จะเป็นเช่นนั้น. (ธัมมนีติ อาจริยกถา ๗, ๘)
ศัพท์น่ารู้ :
อุปชฺฌาจริยานญฺจ ตัดบทเป็น อุปชฺฌาจริยานํ+จ (อุปัชฌาย์และอาจารย์ ท. ด้วย) วิ. อุปชฺโฌ จ อาจริโย จาติ อุปชฺฌาจริยา. (อุปัชฌาย์และอาจารย์ ชื่อว่า อุปัชฌาจริยะ) ทวันทสมาส
มาตาปิตูนเมว ตัดบทเป็น มาตาปิตูนํ+เอว (มารดาและบิดา ท. นั่นเทียว) วิ. มาตา จ ปิตา จาติ มาตาปิตโร (แม่และพ่อ ชื่อว่า มาตาปิตะ, มาตาปิตา) ทวันทสมาส
จ (ด้วย, และ, แล) นิบาต
สกฺกจฺจํ (โดยเคารพ)
โย (ผู้ใด) สัพพนาม
นุปฎฺฐาติ ตัดบทเป็น น+อุปฏฺฐาติ (ย่อมไม่อุปัฏฐาก, ไม่บำรุง, ไม่รับใช้)
สุโตปิ ตัดบทเป็น สุโต+อปิ (แม้ลูกศิษย์, ลูกและลูกศิษย์)
ตสฺส (ของผู้นั้น, ของเขา) สัพพนาม
ตาทิโส (ผู้เช่นนั้น) ตาทิส+สิ. วิ. ตมิว นํ ปสฺสติ, โส วิย ทิสฺสตีติ วา ตาทิโส. (คนเห็นเขาเหมือนเขา, หรือ คนที่ปรากฏเสมือนเขา เรียกว่า ตาทิสะ) มาจาก ต สัพพนาม+ทิส ธาตุ+กฺวิ ปัจจัย (รู ๕๘๘)
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
อาจาย์ใด ไม่บำรุงอุปัชฌาย์อาจารย์ แลมารดาบิดาโดยเคารพ แม้ศิษย์เขาก็จะเป็นคนเช่นนั้น.
อาจารย์ใด ย่อมบำรุงอุปัชฌาย์อาจารย์ แลมารดาบิดาโดยเคารพ แม้ศิษย์ของเขาก็จะเป็นคนเช่นนั้น.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ครูคนใด ไม่บำรุงพระอุปัชฌายะ อาจารย์ บิดาและมารดา โดยเคารพ แม่ศิษย์ของครูผู้นั้น ก็จะต้องเอาอย่างท่าน.
ครูคนใด ตั้งใจบำรุงพระอุปัชฌายะ อาจารย์ บิดาและมารดา โดยเคารพ แม่ศิษย์ของครูผู้นั้น ก็จะต้องเอาอย่างท่าน.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
(1) อาจริยกถา แถลงอาจารย์ 👇 (2) อ่านหัวข้อ 👉2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👉(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
0 comments: