สวยแต่รูปจูบไม่หอม
รูปโยพฺพนฺนสมฺปนฺนา, วิสาลกุลสมฺภวา;
วิตฺยาหีนา น โสภนฺติ, นิคนฺธาอิว กึสุกา.
คนผู้ถึงพร้อมด้วยทั้งรูปและวัย, และยังเกิดในตระกูลใหญ่ร่ำรวย; แต่ขาดวิชาความรู้ ย่อมไม่งาม, เหมือนดอกทองกวาวไร้กลิ่น ฉะนั้น.
(ธรรมนีติ สิปปกถา ๒๐, โลกนีติ ๓๖, กวิทัปปณนีติ ๒๘, จาณักยนีติ ๗)
ศัพท์น่ารู้ :
รูปโยพฺพนฺนสมฺปนฺนา (ผู้ถึงพร้อมด้วยรูปและความหนุ่มสาว) รูป+โยพฺพน+สมฺปนฺน > รูปโยพฺพนสมฺปนฺน+โย
วิสาลกุลสมฺภวา (ผู้สมภพในตระกูลไพศาล, ผู้เกิดในตระกูลใหญ่, -สกุลดัง) วิสาล+กุล+สมฺภว > วิสาลกุลสมฺภว+โย
วิตฺยาหีนา (ผู้ทรามด้วยวิชา, ขาดความรู้) วิตฺยา+หีน > วิชฺชาหีน+โย, หีน (เลว, ต่ำช้า, ทราม) ค. วิ. วิตฺยา หีนา อสฺสาติ วิชฺชาหีโน (วิตฺยาหีนะ คือ ผู้มีวิชาทราม) เป็นฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, หรือ วิ. วิตฺยาย หีโน วิตฺยาหีโน (ผู้ทรามแล้ว ด้วยความรู้ ชื่อว่า วิชชาหีนะ) เป็นตติยาตัปปุริสสมาส. (รู ๓๕๑, ๓๕๒)
น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
โสภนฺเต (ย่อมงาม) √สุภ+อ+อนฺเต ภูวาทิ. กัตตุ.
นิคฺคนฺธา (ไม่มีกลิ่น, ไร้กลิ่น) นิคฺคนฺธ+โย, ศัพท์ที่เกี่ยวกับกลิ่น เช่น สุคนฺธ (กลิ่นหอม), ทุคฺคนฺธ (กลิ่นเหม็น)
อิว (ดุจ, ราวกะ, เหมือน) นิบาตบอกอุปมา
กึสุกา (ต้นทองกวาว) กึสุก+โย, ต้นทองกวาวเป็นต้นไม้ที่มีดอกสวยงาม แต่ไม่มีกลิ่น จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนในที่นี้.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ผู้มีรูปงามกำลังหนุ่ม ทั้งสมภพ ในสกุลอันไพศาล แต่ไร้วิทยาแล้ว ก็หมดสง่าเหมือนดอกกึสุกะ (ทองกวาว) ไม่มีกลิ่นฉะนั้น ฯ
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนรูปงามนามเพราะ กำลังหนุ่มแน่น ทั้งเกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง แต่ความรู้ทราม กลับไม่งามเลย เหมือนดอกทองกวาวที่ปราศจากกลิ่น ฉะนั้น.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้
ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง, 👉อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์
(2) อ่านหัวข้อ 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👇
27. เหมือนคนใบ้นอนฝัน , 26. คนกับโคต่างกันอย่างไร , 25. ตำรา : ดาบสองคม , 24. คนโง่ชอบโอ้อวด , 23. ควรรู้ไว้ใช้ให้เป็น , 22. ความดีย่อมไปสู่คนดี , 21. พ่อแม่ที่เป็นศัตรูของลูก , 20. สวยแต่รูปจูบไม่หอม , 19. ลูกเอ๋ย! อย่าเกียจคร้าน , 18. พระราชาและนักปราชญ์ , 17. ศิลป์ดีกว่าทรัพย์ , 16. จะมีมาแต่ไหน , 14-15. ศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง
(1) อ่านหัวข้อ 1. อาจริยกถา - แถลงอาจารย์👇
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
0 comments: