วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

การไม่ให้ใช้ฉันท์ ในการถ่ายทอดคำสอน

การไม่ให้ใช้ฉันท์ (ซึ่งเป็นร้อยกรองที่พราหมณ์และชนชั้นสูงใช้กันในวงจำกัดและถือว่าศักดิ์สิทธิ์) ในการถ่ายทอดคำสอน

[ณ กรุงสาวัตถี ภิกษุพี่น้อง 2 รูป คือ เมฏฐะและโกกุฏฐะซึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์ ได้เข้าไปหาพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า]

ภ:  เวลานี้ ภิกษุต่างชาติต่างโคตรต่างสกุลได้พากันเข้ามาบวช ซึ่งภิกษุเหล่านี้จะทำให้คำพูดของพระพุทธเจ้าผิดเพี้ยนไปเพราะต่างก็ใช้ภาษาของตัวเองในการเรียนและถ่ายทอด พวกเรามาใช้ฉันท์ในการถ่ายทอดคำสอนของท่านดีกว่า

พ:  พวกเธอเป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ทำไมถึงคิดจะใช้ฉันท์ (ซึ่งเป็นร้อยกรองที่พราหมณ์และชนชั้นสูงใช้กันในวงจำกัดและถือว่าศักดิ์สิทธิ์) ในการถ่ายทอดคำสอนของเรา การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้คนหันมาเลื่อมใส

ภิกษุทั้งหลาย คำสอนของเราจะไม่ใช้ฉันท์ในการถ่ายทอด ภิกษุรูปใดใช้จะต้องอาบัติ เราอนุญาตให้เรียนคำสอนของเราโดยใช้ภาษาของตัวเองได้

_________

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 9 (พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 ขุททกวัตถุขันธกะ เรื่องทรงห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์), 2559, น.68-69

(ดูประกอบ The Life of the Buddha: According to the Pali Canon - Bhikkhu Nanamoli (แปลจากพระไตรปิฎกบาลี), 2017 printing, น.173

กำเนิดหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),   (ตอนที่ 4)หมอรักษาพระพุทธเจ้า,  ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณีเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม,  พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์,  ตถาคตเลิกให้พรแล้วคุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว,  แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1),  (ตอนที่ 2),  (ตอนที่ 3),  (ตอนที่ 4),   (ตอนที่ 5),  (ตอนจบ),  "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร,  เรื่องไม้ชำระฟัน




Previous Post
Next Post

0 comments: