กบในกะลา - The Frog Under the Coconut Shell
อปฺปสฺสุโต สุตํ อปฺปํ, *พหุํ มญฺญติ มานิโก;
สินฺธูทกํ อปสฺสนฺโต, กูเป *โตยํว มณฺฑุโก ฯ
คนมีความรู้น้อย เป็นคนถือตัว, สำคัญความรู้ที่น้อยว่ารู้มากมาย;
เปรียบเหมือนกบที่ไม่เคยเห็นทะเล, สำคัญน้ำในบ่อ(ว่าใหญ่หลวง) ฉะนั้น.
(ธรรมนีติ สุตกถา ๖๒, โลกนีติ ๑๕, นรทักขทีปนี ๑๒๒, กวิทัปปณนีติ ๘๖, มหารหนีติ ๑๒๒)
ศัพท์น่ารู้ :
อปฺปสฺสุโต (ผู้มีได้ยินมาน้อย, คนรู้น้อย, คนไม่ค่อยฉลาด) อปฺป+สุต > อปฺปสสฺสุต+สิ
สุตํ (สิ่งที่ฟังมา, ที่เรียนมา, ความรู้, การศึกษา) สุตํ+อํ
อปฺปํ (น้อย, นิดหน่อย, เล็กน้อย) อปฺป+อํ วิเสสนะใน สุตํ
พหุํ (มาก, มากมาย, หลาย) พหุ+อํ,
มญฺญติ (ย่อมเห็น, ย่อมสำคัญ, ย่อมรู้) √มน+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
มานิโก (ผู้มีมานะ, คนถือตัว) มานิก+สิ
สินฺธูทกํ (น้ำในทะเล, น้ำทะละ, แม่นำ้ใหญ่) สินฺธุ+อุทก > สินฺธูทก+อํ
อปสฺสนฺโต (ไม่เห็นอยู, ไม่เคยเห็น) อปสฺสนฺต+สิ, น+ปสฺสนฺต = อปสฺสนฺต, ปสฺสนฺต มาจาก √ทิส+อนฺต ปัจจัยในกิตก์ แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ปสฺสทิสฺสทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)
กูเป (ในบ่อ) กูป+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)
โตยํว ตัดบทเป็น โตยํ+อิว (ซึ่งน้ำ+เหมือน, ราวกะ, ดุจ), โตย+อํ = โตยํ (น้ำ), ส่วน อิว เป็นนิบาตบอกอุปมา
มณฺฑุโก (กบ, เขียด) มณฺฑุก+สิ
หมายเหตุ : *ในบาทคาถาที่ ๒ เดิมเป็น พหุ ได้แก้เป็น พหุํ และ
*ในบาทคาถาที่ ๔ เดิมเป็น กูเป โสยํว มณฺฑุโก น่าจะเป็นการคัดลอกที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะศัพท์ว่า โสยํว ฉะนั้น ได้แก้จาก โสยํว เป็น โตยํว เพื่อให้เหมือนกับ ๓ คัมภีร์นอกนี้ ซึ่งเป็นศัพท์ที่ชัดเจนและเหมาะสมถูกต้องกว่า.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนหย่อนความรู้กลับฮึกเหิม สำคัญความรู้อันน้อยว่ามาก ก็ไม่ต่างอะไรกับกบผู้ไม่เห็นน้ำใน แม่น้ำ สำคัญว่า น้ำบ่อน้อยมากเหลือ.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนหย่อนความรู้กลับฮึกเหิม สำคัญความรู้อันน้อยว่ามาก ไม่ต่างอะไรกับกบ ไม่เคยเห็นน้ำในแม่น้ำ ก็สำคัญว่าน้ำในบ่อน้อยนั้นว่ามากมายเหลือเกินละ.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
63. น้ำลึกไหลนิ่ง , 62. กบในกะลา - The Frog Under the Coconut Shell , 61. ผู้เจริญเหมือนโคถึก , 60. ประโยชน์อะไร? , 59. ใกล้เกลือกินด่าง , 58. ควรเลือกครูก่อนเรียน
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้
0 comments: