วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ

วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ

อุฎฺฐานา  อุปฎฺฐานา  จ,   สุสฺสุสา   ปริจาริกา;

สกฺกจฺจํ  สิปฺปุคฺคหณํ,    ครุํ  อาราธเย  พุโธ.

นักศึกษาผู้ฉลาดพึงยังครูให้ยินดี (ด้วยวัตร ๕ ประการ คือ)  ๑.  ด้วยการลุกขึ้นรับ   ๒.  ด้วยการอุปัฏฐาก  ๓.  ด้วยการเชื่อฟัง   ๔.  ด้วยการปรนนิบัติด้วยดี และ   ๕. ด้วยการเรียนวิชาโดยเคารพ. 

(ธรรมนีติ ๖, การิกา ๗๖*)

ศัพท์น่ารู้ :

อุฎฺฐานา (การยืนขึ้น, ยืนรับ) อุ+√ฐา+ยุ > อุฏฺฐาน+สฺมา หรือไม่ก็ อุ+√ฐา+ยุ+อา > อุฏฺฐานา+สิ หากคำนึงถึง สุสฺสูสา, ปริจาริกา และ สิปฺปุคฺคหณา เป็นเกณฑ์.

อุปฎฺฐานา (การเข้าไปตั้งไว้, การอุปัฏฐาก, การรับใช้) อุป+√ฐา+ยุ (อา)> อุปฏฺฐาน+สฺมา (อุปฏฺฐานา+สิ)

สุสฺสุสา, สุสฺสูสา (ตั้งใจฟัง, ปรารถนาเพื่ออันฟัง) √สุ+ส+อ+อา > สุสฺสูสา+สิ

ปริจาริกา (การปรนนิบัติ, ดูแลใกล้ชิด) ปริจาริกา+สิ

สกฺกจฺจํ (โดยเคารพ) สกฺกจฺจ+สิ.

สิปฺปุคฺคหณํ (การเรียนศิลปะ, การถือเอาวิชา) สิปฺป+อุคฺคหณ > สิปฺปุคฺคหณ+สิ

ครุํ (ครู, ผู้หนักแน่น, ผู้ควรให้ความเคารพ) ครุ+อํ

อาราธเย (พึงให้พอใจ,​ ให้ชอบใจ, ให้ยินดี) อา+√ราธ+ณย+เอยฺย เหตุกัตตุวาจก, √ราธ ธาตุมี อา เป็นบทหน้า มีอรรรถว่า ยินดี (โตสนะ) ถ้ามี อป เป็นบทหน้า มีอรรถว่า ประทุษร้าย ละเมิด (ปทุฏฐะ) เช่น อปราเธติ แปลว่า ฝ่าฝืน, ละเมิด. นามศัพท์เป็น อปราธ ป. โทษ, ความผิด, พิรุธ, มลทิน.

พุโธ (ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้ฉลาด, นักศึกษา) พุธ+สิ.

*หมายเหตุ: คาถานี้ในปทรูปสิทธิมัญชรี หน้า ๒๐ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้

อุฎฺฐานา  อุปฎฺฐานา  จ,  สุสฺสุสา  สุปริคฺคหา;

สกฺกจฺจํ  สิปฺปุคฺคหณา,  ครุํ อาราธเย  พุโธ ฯ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

การลุกรับ และการบำรุง   การเชื่อฟังแการบำเรอ  การเรียนศิปลโดยเคารพ [ความดีเหล่านี้]  คนฉลาด พึงยังครูให้โปรดปรานได้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

การลุกรับ ๑ การรับใช้ ๑ ความเชื่อฟัง ๑  การปรนนิบัติ ๑ การตั้งใจเล่าเรียนวิชาโดยเคารพ ๑   เหล่านี้ ศิษย์ที่ฉลาดและสามารถก็จะทำให้ครูโปรดปรานได้.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali

_____ 

(1) อาจริยกถา แถลงอาจารย์ 👇 (2) อ่านหัวข้อ 👉2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👉(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา

(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา,  (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน,  (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ,  (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์,  (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น,  (10) ถึงจะไกลก็ควรไป,  (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น









Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: