ถึงจะไกลก็ควรไป
ปณฺฑิโต สุตสมฺปนฺโน, ยตฺถ อตฺถีติ เจ สุโต;
มหุสฺสาเหน ตํ ฐานํ, คนฺตพฺพํว สุเตสินา.
ผินักศึกษาได้ยินว่า มีบัณฑิตผู้ฉลาด ถึงพร้อมด้วยความรู้ มีอยู่ ณ ที่ใด นักศึกษาผู้ปรารถนาความเจริญแก่ตน ควรไปในที่นั้น ด้วยอุสาหะอันใหญ่เทียว.
(ธรรมนีติ อาจริยกถา ๑๐, กวิทัปปณนีติ ๘๓, มหารหนีติ ๔๒, โลกนีติ ๘)
ศัพท์น่ารู้ :
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
สุตสมฺปนฺโน (ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้) สุต+สมฺปนฺน > สุตสมฺปนฺน+สิ
ยตฺถ (ในที่ใด) ย+ถ ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ
อตฺถีติ ตัดบทเป็น อตฺถิ+อิติ (มีอยู่+ว่า....ดังนี้)
เจ (ผิว่า, ถ้าว่า, หากว่า) เป็นนิบาต
สุโต (ผู้ได้ฟัง, ได้ยินแล้ว, นักศึกษา) สุต+สิ;
มหุสฺสาเหน (ด้วยความอุตสาหอันใหญ่, -ขยัน, -พยายาม) มหา+อุสฺสาห > มหุสฺสาห+นา
ตํ (นั้น) ต+สิ สัพพนาม วิเสสนะ(คำขยาย)ใน ฐานํ
ฐานํ (ที่, สถานที่) ฐาน+สิ,
คนฺตพฺพํว ตัดบทเป็น คนฺตพฺพํ+เอว (พึงไปนั้นเทียว, ควรไปให้ได้), คนฺตพฺพ+สิ มาจาก คมุ+ตพฺพ ในเพราะปัจจัยที่มี ต อักษรเป็นตัวแรก เช่น ตุํ, ตพฺพ, ตเว, ตุน, ตฺวาน, ตฺวา เป็นต้น ให้แปลงอักษรที่สุดธาตุที่มี ม, น เป็นที่สุดเป็น น ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า คมขนหนาทีนํ ตุํตพฺพาทีสุ น. (รู ๕๕๑) อุทาหรณ์ เช่น คนฺตพฺโพ, ขนฺตพฺพํ, หนฺตพฺพํ, มนฺตพฺโพ เป็นต้น.
สุเตสินา (นักศึกษา, ผู้แสวงหาความรู้) สุต (ความรู้)+เอสี (ผู้แสวงหา) > สุเตสี+นา
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
บัณฑิตเต็มเปี่ยมด้วยความรู้ หากทราบว่ามีอยู่ในที่ใด อันผู้แสวงความรู้พึงไปสู่ที่นั้น ด้วยความอุตสาหะอันใหญ่เทียว ฯ
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
หากรู้ว่าท่านผู้เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยความรู้ มีอยู่ในที่ใด ผู้แสวงหาความรู้ ก็ควรพยายามบากบั่น ไปให้ถึงที่นั้นให้ได้.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
(1) อาจริยกถา แถลงอาจารย์ 👇 (2) อ่านหัวข้อ 👉2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 👉(3) อ่านหัวข้อ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
ภาพ : นักรบตะวันออก
วัดพระพุทธฉาย รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา จังหว้ดสระบุรี
0 comments: