“ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้”
การสักการะ เคารพ ต้องอาศัยพระรัตนะตรัย สิกขา ความไม่ประมาท สมาธิ และปฏิสันถาร จึงละอกุศลและเจริญกุศลได้ ดังพระพุทธพจน์ว่า
๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม จักมีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ด้วย
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ จักมีความเคารพในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสิกขาด้วย
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา จักมีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสมาธิด้วย
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ จักมีความเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขาไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่ประมาทด้วย
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
(ในทางกลับกัน)
๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม จักไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระสงฆ์ด้วย
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ จักไม่มีความเคารพในสิกขาภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรมมีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสิกขาด้วย
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขาจักไม่มีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดามีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขามีความเคารพในสมาธิ จักไม่มีความเคารพในความไม่ประมาทภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรมมีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในความไม่ประมาทด้วย
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขามีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดามีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
เพราะฉะนั้น
๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรมอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์อยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาทอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ดังนี้.
สาระธรรมจากสักกัจจสูตร
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)
9/9/64
0 comments: