วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“ชนชาติบัณฑิต”

“ชนชาติบัณฑิต”

เวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์สุขและเฉยๆ เกิดแต่การเสวยอารมณ์ต่างๆ ใจมันจึงจำและตริตรึกหาแต่อารมณ์ที่น่าปรารถนา ส่วนอารมณ์ใดๆ ที่ไม่น่าปรารถนาก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่อันที่จริงแล้วไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้

เพราะว่า ไม่มีสี ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสัมผัส ไม่มีอารมณ์ที่นึกคิดใดๆ ที่บุคคลจะไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดถือ หรือไม่กล้ำกลืนกับมัน

โดยมาก บุคคลย่อมเพลิดเพลินกับรูปที่ตนได้เห็น กับเสียงที่ได้ยิน กับกลิ่นรสสัมผัสที่ได้รับรู้ กับธรรมารมณ์ที่ตนนึกคิด หากมันเป็นอิฏฐารมณ์อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็ย่อมยึดถืออารมณ์นั้นๆ หรือย่อมกล้ำกลืนฝืนทนกับอนิฏฐารมณ์อันไม่ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นๆ เสมอ

ยามเมื่ออารมณ์ต่างๆ มากระทบ ย่อมเกิดเวทนาคือการเสวยอารมณ์ เกิดสัญญาคือความจำได้หมายรู้อารมณ์ เกิดวิตกคือการตรึกถึงเวทนานั้นๆ กิเลสทั้งหลายคือโลภะ มานะ และทิฏฐิเป็นต้น ย่อมครอบงำจิตใจ แต่ผู้กำหนดธรรมไว้ในใจโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสเหล่านั้นย่อมดับไป ดังนี้.

เพราะฉะนั้น  บุคคลผู้เป็นนักคิด ชาติบัณฑิต พึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจและได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น

สาระธรรมจากมธุปิณฑิกสูตร และอรรถกถามธุปิณฑิกสูตร ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) 

18/10/64





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: