คำว่า “วัฏฏทุกข์จักดับ”
วัฏฏทุกข์ในที่นี้ได้แก่ “วิปากวัฏฏ์”
“วิบาก” คือ โลกียวิปากจิต ๓๒, เจตสิก ๓๕, กรรมชรูป ๒๐
* อันที่จริง วิบากจะดับ ก็ต้องผ่านการดับของ กรรม (กัมมวัฏฏ์) ก่อน แต่กรรมวัฏฏ์ กับกิเลสวัฏฏ์ นั้น จัดอยู่ในธรรมที่เป็นฝ่ายเหตุด้วยกันทั้งคู่ เมื่อกิเลสดับ กรรมก็ดับ หรือจะเรียกว่า “กรรม” ได้ ก็เพราะยังมีกิเลสอยู่ เมื่อสิ้นกิเลสแล้ว (พระอรหันต์) จะเรียกว่า “สิ้นกรรม” ไปพร้อม ๆ กันก็ได้…
* ส่วนวิบากนั้น เป็นธรรมฝายผล ไหลมาแต่ธรรมฝ่ายเหตุ คือกิเลสกับกรรมนั่นเอง…
ในโลกียวิบาก ๓๒ นั้น แบ่งเป็น ๒ คือ
๑) ปฏิสนธิวิบาก ผลซึ่งทำหน้าที่ปฏิสนธิ เกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ ใน ๓๑ ภูมิ…. ได้แก่ ปฏิสธิวิญญาณ ๑๙, เจตสิกที่ประกอบ ๓๕, และกัมมชรูป (กัมมชกลาป ๓,๗.๔) ที่เกิดในขณะปฏิสนธิกาล (โดยสรุป ก็คือ การก่อกำเนิดขึ้นของขันธ์ ๕ ในภพหนึ่ง) จัดว่าเป็นจุดกำเนิดของทุกข์ที่เรียกว่า “ชาติทุกข์” (ชาติปิ ทุกฺขา)
๒) ปวัตติวิบาก คือ โลกียวิปากจิต ๓๒, เจตสิก ๓๕, กรรมชรูป ๒๐ นั่นเอง ที่เกิดในปวัตติกาล คือหลังจากปฏิสนธิกาลไปแล้ว… เช่น ภวังคจิต….จักขุปสาท…จักขุวิญญาณ…..ฯลฯ…(วิปากจิตทั้งมวลทั้งที่เกิดพ้นจากวิถีและเกิดในวิถีจิต…)
ที่มา : http://dhamma.serichon.us
0 comments: