๑. อาจริยกถา แถลงอาจารย์
อายครูไม่รู้วิชา
กินฺเตหิ ปาทสุสฺสสา, เยสํ นตฺถิ ครูนิห;
เย ตปฺปาทรโชกิณฺณา, เตว สาธูวิเวกิโน.
การบำเรอบาทครูทั้งหลาย มิได้มีแก่ชนเหล่าใด
ประโยชน์อะไรด้วยชนเหล่านั้นในโลกนี้
ชนเหล่าใดเกลือกกลั้วแล้วด้วยละอองธุลีบาทของครูเหล่านั้น
ชนเหล่านั้นเป็นคนดี รู้จักแยกแยะโดยแท้. -๑ (ธัมมนีติ อาจริยกถา ๔ สุโพธาลังการ ๕)
-๑ คำแปลจากสุโพธาลังการมัญชรี แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.
ศัพท์น่ารู้ :
กินฺเตหิ ตัดบทเป็น กึ+เตหิ (ประโยชน์อะไร ด้วยชนเหล่านั้น)
ปาทสุสฺสสา (การบำเรอบาท, การปรนนิบัติใกล้บาท, ปรารถนาฟังใกล้บาท) ปาท+สุสฺสูสา > ปาทสุสฺสูสา+สิ. สุสฺสูสา = สุ+ส+อ+อา. วิ. โสตุมิจฺฉา สุสฺสูสา แปลว่า สุสสูสา คือ การบำเรอ. (ดูสุโพธาลังการมัญชรี หน้า ๑๗ และอภิธานัปปทีปิกา คาถา ๙๓๐ ประกอบ)
เยสํ (ของ...เหล่าใด) ย+นํ สัพพนาม
นตฺถิ (ไม่มี, ย่อมมีหามิได้) น+อตฺถิ
ครูนิห ตัดบทเป็น ครูนํ+อิห (ซึ่งครูทั้งหลาย+ในโลกนี้)
เย (...เหล่าใด) ย+โย สัพพนาม
ตปฺปาทรโชกิณฺณา ตัดบทเป็น ต+ปาทรช+โอกิณฺณา วิ. เตสํ ปาทา ตปฺปาทา, ตปฺปาเทสุ รชานิ ตปฺปาทรชานิ, ตปฺปาทรเชหิ โอกิณฺณา ตปฺปาทรโชกิณฺณา (ตัปปาทรโชกิณณะ คือ เกลือกกลั้วแล้วด้วยละอองธุลีบบาทของครูเหล่านั้น).
เตว ตัดบทเป็น เต+เอว (...เหลานั้น โดยแท้, เท่านั้น)
สาธูวิเวกิโน (คนดีรู้จักแยกแยะ, เป็นคนดีแลมีความวิเวก, คนดีมีความสงบเสงี่ยม) สาธุ+วิเวกี > สาธูวิเวกี+โย
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ฝีเท้าเป็นกิริยาที่สำเหนียกได้ง่าย ไม่มีแก่ครูเหล่าใด ก็ครูเหล่านั้น จะเป็นอาจารย์ ณ โลกนี้เทียวหรือ อันทวยชนที่มีขี้ตีนเกลื่อนกล่น พวกเขาเป็นคนวิเวกจึงจะเหมาะ.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
การเทอดทูนคุณธรรมอันประเสริฐของครูทั้งหลาย มิได้มีแก่คนเหล่าใด ยังจะการอะไรกะคนเหล่านั้นอีกหรือ คนเหล่าใดเกลือกกลั้วด้วยละอองธุลีบาทของครูทั้งหลายนั้น คนเหล่านั้นเป็นคนดี มีความสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ 👇
(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา, (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน, (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ, (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์, (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น, (10) ถึงจะไกลก็ควรไป, (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
0 comments: