วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

คันถารัมภะ​​ (ปณามคาถาและคำปฏิญญา)

Homage to the Triple Gem (Buddha, Dhamma, Sangha)

Namo  tassa  bhagavato  arahato  sammāsambuddhassa.

I pay homage to the Blessed One, the Worthy One, the fully Enlightened One. (three times)

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. 

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ธมฺมนีติ

คันถารัมภะ​​ (ปณามคาถาและคำปฏิญญา)

วนฺทิตฺวา  รตนํ  เสฎฺฐํ,      นิสฺสาย  ปุพฺพเก  ครุํ;

นีติธมฺมํ  ปวกฺขามิ,       สพฺพโลกสุขาวหํ.

ข้าพเจ้าน้อมกราบไหว้ซึ่งพระรัตนตรัยอันประเสริฐ  อาศัยครูผู้ควรแก่การเคารพในกาลแต่ก่อนแล้ว  จักกล่าวนีติธรรมอันนำมาซึ่งความสุขแก่ชาวโลกทั้งปวง.  (ธัมมนีติ คันถารัมภะ ๑)

ศัพท์น่ารู้ :

วนฺทิตฺวา (ไหว้แล้ว, วันทาแล้ว) √วนฺท+อิ อาคม +ตฺวา ปัจจัยในกิตก์

รตนํ (ซึ่งพระรัตนตรัย) รตน+อํ

เสฎฺฐํ (อันประเสริฐ) เสฏฺฐ+อํ, ค.

นิสฺสาย (อาศัยแล้ว) นิ+√สิ+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น ย  สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑) แปลง อิ เป็น อา  กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘).

ปุพฺพเก (ในกาลก่อน) ปุพฺพก+สฺมึ

ครุํ (ซึ่งครู, อาจารย์, ผู้ควรเคารพ) ครุ+อํ

นีติธมฺมํ (ซึ่งนีติธรรม, ธรรมคือการแนะนำ, -กฏ, -ข้อบังคับ, -แบบแผน, -ขนบธรรมเนียม) นีติ+ธมฺม > นีติธมฺม+อํ

ปวกฺขามิ (จักกล่าว) ป+√วจ+สฺสามิ แปลง สฺส เป็น ข ด้วย สปัจจยะ ศัพท์ใน กรสฺส สปจฺจยสฺส กาโห. (รู ๕๒๔) แปลงอักษรที่สุดธาตุเป็น กฺ  โก เข จ. (รู ๕๒๙)

สพฺพโลกสุขาวหํ (ที่นำความสุขมาแก่โลกทั้งปวง) สพฺพ+โลก+สุข+อาวห > สพฺพโลกสุขาวห+อํ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ข้าพเจ้าน้อมไหว้พระรัตนตรัยอันประเสริฐ  จักกล่าวนีติธรรมอันนำมาซึ่งความสุขแก่  โลกทั้งมวล โดยอิงอาศัยครูในชั้นเก่า.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ แปลโดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ข้าพเจ้า ขอถวายนมัสการพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้าแล้ว จักกล่าวหลักธรรม  ซึ่งประมวลความสุขทุกประการมาให้ โดยอาศัยท่านบุรพาจารย์เป็นแนวทาง.

มาติกา - แม่บท

อาจริโย จ สิปฺปญฺจ, ปญฺญา สุตํ กถา ธนํ;

เทโส จ นิสฺสโย มิตฺตํ, ทุชฺชโน สุชโน พลํ.

อิตฺถี ปุตฺโต จ ทาโส จ, ฆราวาโส กตากโต;

ญาตพฺโพ จ อลงฺกาโร, ราชธมฺโมปเสวโก;

ทุกาทิมิสฺสโก เจว, ปกิณฺณโกติ มาติกา.

มาติกา (หัวข้อ, แม่บท) มีดังนี้ คือ

๑) แถลงเรื่องอาจารย์ (อาจริยกถา)  ๒) แถลงเรื่องศิลปะ (สิปปกถา)  ๓) แถลงเรื่องปัญญา (ปัญญากถา)

๔) แถลงเรื่องความรู้ (สุตกถา)  ๕) แถลงเรื่องถ้อยคำ (กถากถา)  ๖) แถลงเรื่องทรัพย์ (ธนกถา)

๗) แถลงเรื่องประเทศ (เทสกถา)  ๘) แถลงเรื่องนิสัย (นิสสยกถา)  ๙) แถลงเรื่องมิตร (มิตตกถา)

๑๐) แถลงเรื่องคนชั่ว (ทุชชนกถา)  ๑๑) แถลงเรื่องคนดี (สุชนกถา)  ๑๒) แถลงเรื่องกำลัง (พลกถา)

๑๓) แถลงเรื่องสตรี (อิตถีกถา)  ๑๔) แถลงเรื่องบุตร (ปุตตกถา)  ๑๕) แถลงเรื่องคนใช้ (ทาสกถา)

๑๖) แถลงเรื่องฆราวาส (ฆราวาสกถา)  ๑๗) แถลงเรื่องกิจที่ควรทำ (กตกถา)  ๑๘) แถลงเรื่องที่ไม่ควรทำ (อกตากถา)

๑๙) ว่าด้วยเรื่องมายาทที่น่ารู้ (ญาตัพพกถา)  ๒๐) แถลงเรื่องเครื่องประดับ (อลังการกถา)  ๒๑) แถลงเรื่องราชธรรม (ราชธัมมกถา)

๒๒) แถลงเรื่องข้าเฝ้า (ราชเสวกกถา)  ๒๓) แถลงเรื่องหัวข้อที่ปนกันมีสองข้อขึ้นไป (ทุกาทิมิสสกกถา)   ๒๔) แถลงเรื่องเบ็ดเตล็ด (ปกิณณกกถา)  (ธรรมนีติ มาติกา ๒, ๓)

ศัพท์น่ารู้ :

ราชธมฺโมปเสวโก ตัดบทเป็น ราชธมฺโม+อุปเสวโก (ธรรมของพระราชาและเสวกผู้ใกล้ชิด)

ปกิณฺณโกติ ตัดบทเป็น ปกิณฺณโก+อิติ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

มาติกาว่า อาจารย์ แลศิลป ปัญญา ความรู้ ถ้อยคำ ทรัพย์ ประเทศ นิสัย มิตร คนชั่ว คนดี กำลังฯ

หญิง แลบุตร ทาส ฆราวาส กิจที่ควรทำ แลที่ไม่ควรทำ อาจาระที่อาจรู้ได้ เครื่องประดับ ราชธรรม ข้าเฝ้าอากัปปะประมวญเป็นสองเป็นต้น แลเบ็ดเตล็ดฯ

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

๒. จักกำหนดหัวข้อธรรมที่ท่านเรียกว่าแม่บทไว้ดังนี้ ๑. อาจารย์ ๒. ศิลปะ ๓. ปัญญา ๔. สุตะความรู้ ๕. ถ้อยคำ ๖. ทรัพย์ ๗. ประเทศ ๘. ที่พึ่งอาศัย ๙. มิตร ๑๐. ทุรชน ๑๑. สาธุชน ๑๒. กำลัง

๓. ๑๓. หญิง ๑๔. ลูก ๑๕. ทาส ๑๖. ฆราวาส ๑๗. สิ่งที่ควรทำ ๑๘. สิ่งไม่ควรทำ ๑๙. สิ่งที่ควรรู้ ๒๐. เครื่องประดับ ๒๑. ราชธรรม ๒๒. ข้าเฝ้า ๒๓. อากัปปะ ที่กำหนดเป็นหมวดสองเป็นต้น ๒๔. ปกิณกะ เรื่องเบ็ดเตล็ด.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali 

(1) อาจริยกถา แถลงอาจารย์ 👇 

(1-3) ปณามคาถาและคำปฏิญญา,  (4) อายครูไม่รู้วิชา (5) คนเขลาที่น่าขัน,  (6) วัตร ๕ อย่างที่ศิษย์ควรทำ,  (7-8) ครูคือแบบอย่างของศิษย์,  (9) รู้ให้แน่-แก้ให้เป็น,  (10) ถึงจะไกลก็ควรไป,  (11) ร่มแห่งความสุข, (12) ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ, (13) คนเบากว่านุ่น

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้ ,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ







Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: