วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“..ทานจักอำนวยสมบัติให้ ดังข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกลงในนาดีย่อมอำนวยผลให้ชาวนายินดีฉะนั้น”

“..ทานจักอำนวยสมบัติให้ ดังข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกลงในนาดีย่อมอำนวยผลให้ชาวนายินดีฉะนั้น”


“หมั่นบำเพ็ญบุญสมภารไว้ ด้วยความเชื่อมั่นในผลแห่งทานนั้นเถิด ทานจักอำนวยสมบัติให้ ดังข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกลงในนาดีย่อมอำนวยผลให้ชาวนายินดีฉะนั้น”

แม้พระเถระในอดีตก็ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ เมื่อได้กลับชาติมาเกิด ก็บังเกิดในเรือนมีตระกูลอันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้ว มีศรัทธามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บรรพชาแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ดังเช่นพระสปริวาราสนเถระ

พระสปริวาราสนเถระได้ประกาศประวัติในอดีตชาติของตนไว้ว่า

“ข้าพเจ้าไปยังสถานที่ทรุดโทรมแห่งหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าประดับด้วยดอกมะลิซ้อนไว้แล้ว ได้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ทรงเป็นผู้ตรง มีพระหฤทัยตั้งมั่น ประทับนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ได้ทรงประกาศอานิสงส์บิณฑบาตไว้ดังนี้ว่า

“พืชแม้จะมีประมาณน้อยที่ชาวนาปลูกลงในนาดี เมฆฝนเป็นอันมากโปรยลงมาอย่างพอเหมาะ ผลย่อมให้ชาวนายินดีได้ ฉันใด

บิณฑบาตนี้ก็ฉันนั้น ท่านปลูกแล้วในนาดี ผลจักให้ท่านยินดีในภพที่ท่านเกิด”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงรับบิณฑบาต บ่ายพระพักตร์เสด็จหลีกไปทางทิศเหนือ” ดังนี้เป็นต้น

สาระธรรมจากสปริวาราสนเถราปทาน

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)

3/10/64






Previous Post
Next Post

post written by:

Related Posts

  • รัตนะอันสูงสุดรัตนะอันสูงสุดพระผู้มีพระภาคตรัสแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายว่า  “พระอริยะทั้งหลายกล่าว การประพฤติธรรม ๑ และการประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ทั้ง ๒ นี้ว่า “เป็นรัตนะอ… Continue Reading
  • “อวิชชา” คืออะไร? “อวิชชา” คืออะไร?   “อวิชชา” มิใช่ความโง่เขลาทั่วๆไป“พระพุทธองค์ตรัสว่า “อวิชชา” คือ ความไม่รู้ “อริยสัจ ๔” ได้แก่ ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ เหตุเกิดของท… Continue Reading
  • การกำหนดรู้โกธะ (ความโกรธ)การกำหนดรู้โกธะ (ความโกรธ)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า   “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ซึ้งถึงโกธะ ยังกำหนดรู้โกธะไม่ได้ ยังไม่คลายความพอใจในโกธะนั้น ยังละโกธะไ… Continue Reading
  • โรคร้าย ๓ ชนิด คือโรคร้าย ๓ ชนิด คือ๑. โรคความอยาก (อิจฺฉา)  ๒. โรคความหิว (อนสนํ)  ๓. โรคชรา (ชรา)เพราะฉะนั้น คำว่า “โรค” หมายถึง ความอยาก ๑ ความอดอยาก ๑ ความทรุดโทรม … Continue Reading
  • ผู้ที่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ในกาลทุกเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ว่า  “ผู้ใดพึงเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ในกาลทุกเมื่อว่า   “ถ้าในอดีต กรรมกิเลสไม่พึงมีแก่เรา  ในปัจจุบัน  อั… Continue Reading

0 comments: