ฉันเนื้อได้ด้วยเงื่อนไข 3 ข้อ
[ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี หลังจากที่สีหเสนาบดีเห็นธรรมแล้ว ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ให้รับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น พอสีหเสนาบดีกลับกรุงเวสาลีก็สั่งมหาดเล็กคนหนึ่งว่า]
ส: เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสดที่เขาขายมา
[จากนั้นได้สั่งให้นำไปทำอาหารถวายพระพุทธเจ้า]
[เช้าวันรุ่งขึ้น มีมหาดเล็กคนหนึ่งเข้าไปกระซิบสีหเสนาบดีว่า]
ม: เมื่อเช้ามีนิครนถ์ (นักบวชในศาสนาเชน) หลายคนเดินไปตามถนนสี่แยกสามแยกทั่วกรุงเวสาลี ร้องบอกผู้คนว่าวันนี้สีหเสนาบดีล้มสัตว์เลี้ยงตัวอ้วนๆไปทำอาหารให้พระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ฉันเนื้อนั้นทั้งๆที่รู้อยู่ว่าเขาเจาะจงฆ่ามาทำอาหารให้
ส: ช่างเถอะ ท่านเหล่านั้นตั้งใจติเตียนพระพุทธเจ้า คำสอน และพระสงฆ์ในศาสนาของท่านมานานแล้ว แต่งเรื่องขึ้นมากล่าวหาท่านต่างๆนานาก็ยังไม่หนำใจอีก พวกเราเองก็ไม่ได้มีเจตนาจะไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอะไรเลย
[เมื่อพระพุทธเจ้าได้มาถึงบ้านของสีหเสนาบดี สีหเสนาบดีก็ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วก็ได้แสดงธรรมแก่สีหเสนาบดีตามสมควรและลุกกลับไป โดยในเวลาต่อมา ท่านได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า]
พ: ภิกษุต้องไม่ฉันเนื้อที่รู้ว่าเขาเจตนาฆ่ามาทำอาหารให้ ถ้าฉันทั้งๆที่รู้ จะต้องอาบัติ (โทษจากการละเมิดข้อห้าม) เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ทั้ง 3 ข้อคือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้สงสัย (ว่าฆ่าเพื่อให้เราฉัน)
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 7 (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 เภสัชชขันธกะ พุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ), 2559, น.125-127
ที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก, ที่มาของการห้ามรับเงินทอง, ไม่คิดแพ้ชนะ, ทำเขาไว้อย่างไร ก็โดนคืนอย่างนั้น, บาปและบุญคือเงาตามตัวไปโลกหน้า, วิธีดึงให้หันมาหาแก่นแท้, ไม่ตึงไม่หย่อนไป, เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 แล้ว จะไม่มีการเกิดอีก, คนพาลที่ไปเกิดเป็นสัตว์แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้งนั้นยากแค่ไหน, รับนิมนต์และสวนที่ถวายโดยหญิงงามเมือง, การกล่าวไตรสรณคมน์ (การถึงที่พึ่งทั้งสาม) 3 ครั้ง
0 comments: