วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ห้ามพระเณร ‘เรียน - สอบ’ เหมือนประชาชนทั่วไป ฝ่าฝืนขับออกจากวัด

ห้ามพระเณร ‘เรียน - สอบ’ เหมือนประชาชนทั่วไป 

ฝ่าฝืนขับออกจากวัด

มหาเถรสมาคม (มส.) ได้ปรับปรุงคำสั่งกรณีพระภิกษุสามเณรเรียนวิชา - สอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกแบบประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสงฆ์มากยิ่งขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีคำสั่ง ดังนี้

1.  คำสั่งมหาเถรสมาคม ห้ามพระภิกษุสามเณรเรียนวิชาหรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกแบบประชาชนทั่วไป

2.  คำสั่งนี้ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์

3.  ตั้งแต่วันใช้คำสั่งนี้ ให้ยกเลิกคำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่องพระภิกษุสามเณรเรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือก พ.ศ. 2538

4.  ห้ามพระภิกษุสงฆ์สามเณรสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือก เพื่อเข้ารับราชการ หรือทำงานในหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง, สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง, สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หรือศูนย์พระปริยัตินิเทศแห่งคณะสงฆ์ และตำแหน่งอื่นที่กำหนดไว้สำหรับพระภิกษุกสามเณรเป็นการเฉพาะ

5.  ห้ามพระภิกษุสงฆ์ สามเณร สอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นกรณีทุนของพระภิกษุ สามเณรโดยเฉพาะ หรือจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาพระพุทธศาสนา ปรัชญา ภาษาบาลีสันสกฤตและสาขาอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ศาสนา หรือทุนที่จัดสรรเพื่อเกื้อหนุนพระพุทธศาสนาเท่านั้น

6.  ห้ามพระภิกษุ สามเณร เรียนวิชาเหมือนประชาชนทั่วไป เว้นแต่เข้าศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการศึกษา หรือวิชาอื่นที่มหาเถรสมาคมกำหนดโดยมีเงื่อนไขหรือไม่มีก็ได้ เพื่อประโยชน์แก่การเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย หรือสถานศึกษาอื่นใดที่จัดการศึกษาโดยคณะสงฆ์

7.  หากพระภิกษุสามเณรฝ่าฝืนคำสั่งให้จัดการ ดังนี้ 

1.  ถ้าไม่ได้เป็นสังฆาธิการ ให้เจ้าอาวาสเจ้าสังกัดสั่งให้เลิกการกระทำนั้น หากตักเตือนแล้วไม่ฟัง ให้จัดการพระภิกษุสามเณรรูปนั้นออกจากวัด และบันทึกสาเหตุในหนังสือสุทธิ และรายงานตามลำดับชั้นจนถึงเจ้าคณะจังหวัด 

2.  ถ้าเป็นสังฆาธิการให้คณะเจ้าสังกัดพิจารณาลงโทษ ฐานละเมิดจริยาพระสังฆาธิการตามควรแก่กรณี

ที่มา :  The Momentum , คำสั่งมหาเถรสมาคม





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: