วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564

ศรัทธา ในค้มภีร์ทั้งหลาย มักจะกล่าวถึงวิเสสลักษณ์(ลักษณ์จำเพาะ) 2 ประการ

ศรัทธา ในค้มภีร์ทั้งหลาย มักจะกล่าวถึงวิเสสลักษณ์(ลักษณ์จำเพาะ) 2 ประการ

พระไตรปิฎกศึกษา

ศรัทธา ในค้มภีร์ทั้งหลาย มักจะกล่าวถึงวิเสสลักษณ์(ลักษณ์จำเพาะ) 2 ประการ ซึ่งปกติวิเสสสลักษณ์ประจำธรรมะนั่นๆจะมีเฉพาะประการเดียว เพื่อแสดงให้รู้ว่าธรรมะนี้ต่างกับธรรมะนั้น ส่วนศรัทธา มี 2 ประการ คือ

1.) สทฺทหนลกฺขณา มีความเชื่อเป็นลักษณะ,  ปสาทนรสา มีความเลื่อมใสเป็นกิจ,  อกาฬุสฺสิยปจฺจุปฏ ฐานา มีความไม่ขุ่นมัวเป็นผลปรากฏ, สทเธยฺยวตฺถุปทฏฺฐานา มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อเป็นเหตุใกล้

2.) โอกปฺปนลกฺขณา มีการปักใจเชื่อด้วยปัญญาเป็นลักษณะ, ปกฺขนฺทนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนโลดแล่นไปโดยไม่ติดขัดเป็นกิจ,  อธิมุตฺติปจฺจุปฏฺฐานา มีการน้อมไปสู่เป้าหมายเป็นผลปรากฏ

สทฺธมฺมสฺสวนาทิโสตาปตฺติยงฺคปทฏฺฐานา มีองค์ประกอบที่ทำให้เข้าถึงกระแสธรรม เช่นการฟังพระสัทธรรมเป็นเหตุใกล้.  เหตุที่วิเสสลักษณะของศรัทธามี 2 ประเภท ก็เป็นไปตามธรรมชาติ ของศรัทธาเจตสิกที่เป็นสัพพสาธารณโสภณเจตสิก ดังนั้นประเภทที่ 1 จึงหมายถึงวิเสสลักษณะของศรัทธาทั่วๆไปที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา 

ส่วนประเภทที่ 2 เพราะแม้ปัญญาจะเป็นโสภณเจตสิกแต่ก็ไม่เป็นสาธารณะแก่จิตทั่วไปเหมือนศรัทธาเจตสิก เฉพาะที่เป็นจิตสัมปยุตต์กับปัญญาเจตสิกเท่านั้น ดังนั้นวิเสสลักษณ์ของศรัทธาประเภทที่ 2 จึงเป็นประเภทที่ประกอบด้วยปัญญา สมดัง คาถาสังคหะกล่าวไว้ว่า

อนุตตเร ฌานธมฺมา  อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม,  วิรติ ฌานปีติ จ  ปริตฺเตสุ วิเสสกา. แปลว่า :- ในโลกุตตรจิต ฌานธรรม คือ ฌาน 5 และเจตสิกธรรม 5 คือ วิตก, วิจาร, ปีติ, สุข(โสมนัส)เวทนา, และ อุเบกขาเวทนา ย่อมทำให้โลกุตตรจิตต่างกัน

ในมหัคคตจิต อัปปมัญญาเจตสิก 2 ฌานธรม คือ เจตสิกธรรม 5 มีวิตก, วิจาร,ปีติ,สุข(โสมนัส)เวทนา, อุเบกขาเวทนา ย่อมทำให้มหัคคตจิตต่างกัน.  ในกามาวจรโสภณจืต ปีติเจตสิก 1, วิรตีเจตสิก 3, อัปปมัญญาเจตสิก 2, และปัญญาเจตสิก 1 ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิตต่างกัน

(เหตุผลว่าทำไมศรัทธาเจตสิกจึงมีวิเสสลักษณะ 2 ประเภทจากคัมภึร์นิสสยะอักษรปัลลวะ)

ที่มา : http://dhamma.serichon.us

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: