วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

“สุขที่แท้จริง” คือ เหนือสุข เหนือทุกข์


 “สุขที่แท้จริง” คือ เหนือสุข เหนือทุกข์

.... “พระนิพพาน” เป็น “บรมธรรม” กําจัดปัญหาไม่มีอะไรเหลือ แต่เรามักจะพูดกันว่ากําจัดทุกข์ไม่มีอะไรเหลือ ระวังให้ดี ถ้าสุขเหลืออยู่มันก็เป็นปัญหา มันต้องหมดไป เพราะความสุขนี้มันก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในตัวความสุขนี้เอง ไม่สุข ไม่ทุกข์ นั่นแหละ ที่เรียกว่า “สุขที่แท้จริง” สุขอย่างชาวบ้านรู้จักนั้นมันเป็นสุขอย่าง “สังขาร” ต้องมี..ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่ในความสุขนั้น ถ้าไม่พูดว่าเป็นความสุขก็จะไม่มีใครสนใจพระนิพพาน พอไปพูดว่าพระนิพพานเป็นความสุข มันก็เข้าใจว่าเป็นความสุขอย่างที่รู้จักอยู่….

ขอให้ใช้คําว่า “หมดปัญหา” ดีกว่า หมดปัญหาหรือจะเรียกว่าเหนือสุขเหนือทุกข์ ถ้าพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะท่านพูดภาษาชาวบ้าน ให้เกิดความสนใจในหมู่คนธรรมดา เป็นสุขชนิดอย่างยิ่ง ไม่ใช่สุขตามธรรมดา สุขตามธรรมดามันสุขๆ ทุกข์ๆ ล้มลุกคลุกคลาน ถ้าสุขอย่างยิ่งไม่มีความเป็นอย่างนั้น เพราะว่ามันอยู่เหนือปัญหา” - พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ธรรมบรรยายแก่คณะสมาธิภาวนา ครั้งที่ ๕ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๓๔ ที่สวนโมกขพลาราม

“นิพพาน” กับ “สังขาร”

“นิพพาน” ในพุทธศาสนานั้น เมื่อกล่าวสำหรับคนทั่วไปแล้ว พึงเข้าใจเถิดว่ามันตรงกันข้ามกับคำว่า “สังขาร” โดยบาลีว่า :- 

“สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา” สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง.  “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.  ดังนั้น จึงได้ความว่า สิ่งที่เรียกว่านิพพานนั้น ก็คือไม่ปรุงนั่นเอง ความปรุง คือ เวียนว่ายไปในสังสารวัฏฏ์ เป็นความทุกข์.  ความไม่ปรุง คือ มีสติปัญญาสูงถึงขนาดที่ตัดผ่าวงกลมนี้ได้ขาดกระจายออกไป ไม่ให้หมุนได้อีกต่อไป คือไม่เป็นสังสารวัฏฏ์ อย่างนี้เรียกว่า “ไม่ปรุง” เกิดมาเพื่อหยุดเสียซึ่งสังสารวัฏฏ์ ให้ถึงที่สุดของความทุกข์ คือไม่มีทุกข์เลย นี่เรียกว่า นิพพาน อย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ลึกลับมหัศจรรย์เหลือวิสัยของคน” - พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ธรรมบรรยายเรื่อง “เกิดมาเพื่อเดินทาง” เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๘,  ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ – รวบรวม



post written by:

Related Posts

  • ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรีใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรีธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความไม่ยินดี ชื่อว่าความริษยา เช่นริษยาในการได้ลาภได้ยศของผู้อื่นเป็นต้นคนริ… Continue Reading
  • ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดเมื่อเกิดความโกรธมาก ถ้าข่มความโกรธนั้นไม่ได้ คนเราก็ฆ่ากันได้ เพราะความโกรธเป็นเหมือนรถที่แล่นเร็ว จึงมีลักษ… Continue Reading
  • สมณะ คือผู้สงบสมณะ คือผู้สงบเพราะฉะนั้น จึงไม่ง่ายสำหรับความเป็นสมณะของคนบางคนเพราะว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้น หามิได้,  ส่วนผู้ใ… Continue Reading
  • คนที่เทวดารักคนที่เทวดารัก๑. คนที่เลี้ยงดูมารดาบิดา๒. คนที่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล๓. คนที่เจรจาอ่อนหวานพูดจาสมานมิตรสหาย๔. คนที่ไม่พูดจายุแยงให้คนอื่นแตกแยกกัน๕. ค… Continue Reading
  • ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)กุลบุตรผู้บวชในพระศาสนานี้ ประกอบตนโดยชอบ ละอเนสนา (อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ) ปรารถนาแต่จะตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ค… Continue Reading

0 comments: