“บุญที่สำเร็จด้วยภาวนา” เกิดจากความตั้งใจกำหนดรู้สิ่งเหล่านี้ คือ
๑. ความตั้งใจกำหนดรู้ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยกำหนดรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
๒. ความตั้งใจกำหนดรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยกำหนดรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
๓. ความตั้งใจกำหนดรู้ความรู้อันเกิดขึ้นเพราะอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยกำหนดรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
๔. ความตั้งใจกำหนดรู้อาการที่ตากับรูปและจักขุวิญญาณประจวบกัน อาการที่หูกับเสียงและโสตวิญญาณประจวบกัน อาการที่จมูกกับกลิ่นและฆานวิญญาณประจวบกัน อาการที่ลิ้นกับรสและชิวหาวิญญาณประจวบกัน อาการที่กายกับโผฏฐัพพารมณ์และกายวิญญาณประจวบกัน อาการที่ใจกับธรรมารมณ์และมโนวิญญาณประจวบกัน โดยกำหนดรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
๕. ความตั้งใจกำหนดรู้สิ่งที่ทรงจำไว้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยกำหนดรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
๖. ความตั้งใจกำหนดรู้ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง ตามที่เป็นจริง
เพราะฉะนั้น ความตั้งใจกำหนดรู้สิ่งเหล่านี้สำเร็จเป็นบุญที่เกิดจากการหมั่นภาวนา
สาระธรรมจากสังคีติสูตรและอรรถกถา (ติกกวณฺณนา)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์
6/3/64
0 comments: