วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู

The Establishment of the Bhikkhuni Order. Mahaprajapati Gotami, the Buddha's step mother requested the Buddha the ordination for ladies. The Buddha accepted her request with a great compassion towards womenfolk.

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู

พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น พระกนิษฐภคินี ของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระประยูรญาติถวายพระนามว่า “โคตมี”

เป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง

พระนางสิริมหามายา ทรงอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราช แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์ จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิ ใน พระครรภ์ของพระนางสิริมหามายราชเทวี พอประสูติพระราชโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสวรรค์ชั้นดุสิต พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมอบให้การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะ แก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้มีศักดิ์ เป็นพระมาตุจฉา (พระน้านาง) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาพระนาง ไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และ ได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “นันทกุมาร” และพระราชธิดานามว่า “รูปนันทา”

ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จไป โปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดง ธรรมกถา โปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิ ชั้นพระ โสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระน้านาง ยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติ ผล และในวันรุ่งขึ้น(วันที่ ๓) ทรงแสดงมหาปาลชาดก โปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลง พระพุทธบิดา ทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ชั้นพระอนาคามี

ขอบวชแต่ผิดหวัง

ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธี อาวาหมงคลอภิเษกสมรส นันทกุมาร พระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อ เสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนัทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการ เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมาร ออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้ บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนัก เพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์

ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว เข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อการ ถวายพระเพลิง พระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตรมี รู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระ ประสงค์จะทรงผนวช ในพระพุทธศาสนา จึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา ที่นิโครธาราม กราบทูล ขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา พระนางกราบทูล อ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จ กลับพระราชนิเวศน์

พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

พระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวช

ขณะนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมา ปลงกระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวาร ประมาณ ๕๐๐ พระองค์ (นางกษัตริย์เหล่านี้ สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลี แล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอ้อนวอนของอุปสมบท ถึงอย่างนั้น พระพุทธองค์ก็ยังไม่ทรง อนุญาต จึงเสด็จออกมายืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตู

ขณะนั้น พระอานนท์ผ่านมาพบ จึงสอบถาม ทราบความโดยตลอดแล้ว พระเถระรู้สึกสงสาร คิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระ พุทธองค์ว่า:-

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ?”

“ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้ เหมือนบุรุษเพศทุกประการ”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์ แก่พระนางมหาปชาบดี โคตมี ผู้มีคุณูปการ บำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้า ข้า”

“ดูก่อนอานนท์ ถ้าปชาบดีโคตรมี รับประพฤติครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ คือ:-

๑. ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้ อุปสมบทได้วันเดียว

๒. ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มี พระภิกษุ

๓. ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

๔. ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)

๕. ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สอง ฝ่าย

๖. ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษา สิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เว้น จากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔.เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจาการดื่มสุราเมรัย และของมึนเมา ๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้ มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติ ใหม่

๗. ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้

๘. ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้ โอวาทภิกษุมิได้

พระเถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระ น้านางได้สดับแล้ว มีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึง ประทาน การอุปสมบทให้แก่พระน้านาง สมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารี ที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด

เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้ว เรียนพระ กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาท ไม่นานนักก็ได้ บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้บำเพ็ญกิจพระศาสนา เต็มกำลัง ความสามารถ

ลำดับต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณี ใน ตำแหน่งเอตทัคคะ หลายตำแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือ รู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น จึงทรง สถาปนาพระนาง ในแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่ายผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ ราตรีนาน 

ที่มา : http://www.thammapedia.com



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: