"ปญฺญา ว ธเนน เสยฺโย - ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ "
- พุทธพจน์
ปัญหาหนึ่งของคนทำงานเป็นลูกจ้าง ใช้แรงงาน หรือพนักงานที่เป็นกังวลก็คือ งานมาก แต่รายได้น้อยจนเป็นหนี้สินก็ไม่สมดุลกัน การแก้ปัญหาคือ ทำให้มูลค่างานเพิ่มขึ้น เหมือนชาวนา ถางป่าเป็นร้อยไร่ แล้วขายข้าวได้ราคาถูกก็เท่านั้น แต่การทำนา เขาไม่ได้ขายข้าวทั้งหมด เขายังมีข้าวไว้กิน ส่วนคนทำงานบริษัท คนทำงานใช้แรงงาน แรงสมองก็เพื่อให้มีรายได้เกิดขึ้น รายได้ คือนาของเขา เมื่อรายได้ไม่พอก็ลำบาก เพราะข้าวก็ต้องซื้อ ดังนั้นต้องทำให้มูลค่าของงานเพิ่มขึ้น
จะให้มูลค่าของานเพิ่มขึ้นก็ต้องคิดหาทางออกให้ได้ว่าควรจะแก้ปัญหาอย่างไร และทำอย่างไร
เนื่องจากหลักธรรมชาติของพ่อค้าคนกลาง หรือเจ้าของธุรกิจก็เหมือนกันหมด คือเขาต้องการกำไรสูงสุด ลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เราต้องคิดให้มาก คิดให้ออกนอกกรอบไปจากที่เป็นอยู่ หากจะแก้ปัญหา และอยากทำอาชีพที่ตนรักต่อไปก็ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน
หลักการที่ทำให้เราเปลี่ยนนิสัยเดิมๆ และหาทางออกจากวงจรที่ทำให้ต้องตกหลุมพลางของการทำงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบก็คือ เปลี่ยนวิธีคิด ศึกษางานอื่นๆ และจดบันทึกการทำงาน ให้มีความละเอียดมากขึ้น บันทึกรายได้ และค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน รวมทั้งต้องหาทางออมเงินไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะลำบากในภายภาคหน้า
๑. เปลี่ยนวิธีคิด มาคิดว่าทำไมทำงานแล้วไม่พอใช้ เป็นหนี้เพราะอะไร คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นหนี้เพราะความอยาก ฟุ้งเฟ้อ เพราะความชอบของตัวเองทั้งนั้น ชาวไร่ ชาวสวน ขายนา ขายสวนไปซื้อรถยนต์ เพราะความอยากมี อยากมีรถดีๆ มีโทรศัพท์ดีๆ ความคิดอย่างนี้อันตรายอยู่ เพราะการมีไร่นา มันดีมากเลย ก็ต้องมาหาทางว่า ทำอย่างไรจึงจะทำสวน ทำนาไม่ให้เป็นหนี้ อยากได้รถก็ต้องทำกำไรให้ได้ก่อนแล้วค่อยไปซื้อ การค้าขายก็ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้วงจรการการผลิตไปถึงผู้บริโภค ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางที่เอารัดเอาเปรียบ
เพราะถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีคิด แต่ทำนา ทำสวนใช้หนี้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ต้องการขายที่ขายไร่ขายนา เอาไปใช้หนี้ และในที่สุดก็อาจจะไม่เหลืออะไรเลย
ถ้าเรามีความสามารถอย่าไปขายที่ทาง ทำอย่างไรจึงจะหาได้มากขึ้น มีอยู่ ๕ ไร่ ทำอย่างไรจึงจะได้เพิ่มเป็น ๑๐ ไร่ ถ้าชาวบ้านมีแนวคิดอย่างนี้ประเทศจะเจริญ การบริหารระดับประเทศก็เหมือนกัน ปีนี้รัฐบาลหาเงินเข้าประเทศได้เท่าไหร่ ปีหน้าให้มันได้สัก ๕๐,๐๐๐ ล้าน ไม่ใช่ว่าเป็นหนี้ คิดแต่จะไปกู้หนี้ต่างประเทศเป็นแสนๆ ล้านอย่างนี้ใช้ไม่ได้
๒. ประหยัด สิ่งไหนจำเป็น สิ่งไหนไม่จำเป็น ถ้าใจไม่พอก็ไม่มีวันพอ สิ่งจำเป็นของร่างกายของชีวิต มีอะไรบ้าง บวกลบคูณหารดูสิ
๓. จดบันทึกการใช้จ่าย ส่วนใหญ่คนไม่รู้การกระทำของตัวเอง เมื่อไม่จดบันทึกก็ไม่รู้ แต่ถ้าจดบันทึกการทำงานจะทำให้รอบคอบในการทำงาน ถ้าจดบันทึกการใช้ชีวิตก็จะละเอียดมากขึ้นในการใช้ชีวิต จดบันทึกการใช้จ่ายก็จะละเอียดในการใช้จ่าย จดบันทึกสิ่งใดก็ได้ทบทวนและละเอียดลอออยู่กับความจริงในสิ่งนั้น เพราะคนเรามักมีปัญหาในการคิดกับความเป็นจริงคนละอย่าง พระท่านจึงบอกว่า ให้คิดตามความเป็นจริง
ที่มา : ธรรมะยู-เทิร์น โดย อิทธิโชโต
http://www.komchadluek.net/detail/20160123/220871.html
___
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข , คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ , ผู้นำ ผู้ตาม , ม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก , ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ , บุญเป็นสิ่งเดียวที่โจรขโมยจากเราไปไม่ได้ , ผู้มีศีลย่อมได้รับคำชื่นชมและมีความสุขสงบใจอันเกิดจากกุศล , ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (2) , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (1) , คำคมภาษาอังกฤษ , 'เชื่อมั่นในตน' เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ , ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน , ชนะตนแล ประเสริฐกว่า , ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ , คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ , ธรรมเป็นเหตุให้ยศเจริญ , ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก , ชนเหล่าใดประมาท ชนเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว , จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ , เพียงดังแก้วมณีโชติรส , ผู้ดำเนินชีวิตโดยธรรม , ผู้เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ , ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย , พุทธภาษิตเกี่ยวกับความตาย , ความไม่รู้เป็นมลทินร้ายที่สุด , คนชั่วช้า ไม่พ้นตาสังคม , เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น , เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี , ช่วยกันเขียนให้ถูก และแปล อย่าให้ผิด , ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้ , การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง , คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
0 comments: