วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ


พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

พระภัททกาปิลานีเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อโกสิยพราหมณ์ ในนครสาคลนคร มารดา ชื่อสุจิบดี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ทำอาวาหมงคล เป็นภรรยาของปิปผลิมานพ ตระกูลสัสสปะ เรียกชื่อตามตระกูลว่า “กัสสปะ” นับว่าเป็นสามีภรรยาที่แปลก เพราะทั้งคู่ไม่ยินดีในการถูกเนื้อ ต้องตัวกัน แม้จะนอนบนเตียงเดียวกัน แต่ก็ขึ้นคนละข้าง และมีแจกันดอกไม้ กั้นตรงกลาง อยู่ ครองคู่กัน จนบิดามารดาของทั้งส่องฝ่ายถึงแก่กรรม ทรัพย์สมบัติทั้งหลายจึงตกอยู่ในปกครองดู แลรับผิดชอบของคนทั้งสอง

ไม่ทำบาปแต่ต้องคอยรับบาป

เนื่องด้วยตระกูลทั้งสองนั้น เป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมเป็นตระกูลเดียวกันก็ ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยง และคนงานจำนวนมาก ทั้งสองสามีภรรยา ต้องบริหารสั่งการทุก อย่าง.  วันหนึ่ง ขณะที่กัสสปะผู้สามี ออกไปตรวจดูการทำไร่ไถนาอยู่นั้น เห็นนกกาจิกกินสัตว์ เหล็กสัตว์น้อยแล้ว รู้สึกสลดใจ ที่ตนเองจะต้องคอยรับบาปกรรม ที่คนอื่นทำ แม้นางภัททกาปิลานี ใช้ให้ทาสและกรรมกร นำเมล็ดถั่วเมล็ดงามาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็นนกกามาจิกกินตัวหนอนก็ เกิดสลดใจเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อสองสามีภรรยาอยู่กันพร้อมหน้า จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นตรงกันว่า ไม่ ควรจะมานั่งคอยรับบาปกรรม ที่คนอื่นกระทำเพื่อตนเลย จึงพร้อมใจกัน มอบทรัพย์สมบัติทั้ง หมดให้แก่หมู่ญาติ และทาสกรรมกร แบ่งกันไปดูแล ส่วนตนทั้งสองได้ปลงผม แล้วนุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐานเพศบรรพชิต บวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลก แล้วเดินทางออกจาก บ้านไปด้วยกัน พอถึงทางแยกสองแพร่ง กัสสปะได้ไปทางขวา และได้พบพระบรมศาสดาที่ใต้ ร่วมพหุปุตตนิโครธ แล้วกราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา

บวชในสำนักปริพาชก

ส่วนนางภัททกาปิลานี แยกไปทางซ้าย เดินทางไปพบสำนักของปริพาชก จึงบวชอยู่ใน สำนักนั้นถึง ๕ ปี เนื่องด้วย ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังมิทรงอนุญาตให้สตรีบวช ในพระพุทธ ศาสนา ต่อมาเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมี ได้บวชแล้ว นางจึงได้มาบวชในสำนักของนางภิกษุณี ได้ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๓ อภิญญา ๖ เป็นผู้ชำนาญในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติ

ดังนั้นพระบรมศาสดา ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อ ทรงสถาปนา ภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระภัททกาปิลานีเถรี ใน ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประการ :- ๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาคือความว่าง  ๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจังแล้วถอนนิมิตได้  ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์แล้วถอนความปรารถนาได้ 

ที่มา : http://www.thammapedia.com/sankha/bhikkhuni_puttakapilani.php



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: