“โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข - ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย”
ผู้เพ่งความสงบ คือผู้ประสงค์ หรือผู้เจาะจงความสงบ. โลกามิส คือเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
ทำไมจึงต้องเพ่งความสงบเล่า ? เพราะพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของความสงบ จึงทรงชักชวนพุทธบริษัทสร้างความสงบ ดังพระบาลีว่า (สนฺติมคฺคเมว พฺรูหเย) แปลว่า “สูเจ้าจงพูนทางแห่งความสงบนั่นเถิด” และทรงยกย่องความสงบว่าเป็นสุขสุดยอด ดังพระบาลีว่า (นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ) แปลว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”
เพราะฉะนั้น ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย เพราะว่ารูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสเป็นเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก และผู้มีใจติดข้องอยู่ในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสเหล่านั้นมิอาจแสวงหาความสงบสุขได้.
พระมหาวัชระ เชยรัมย์
21/3/64
___
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข , คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ , ผู้นำ ผู้ตาม , ม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก , ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ , บุญเป็นสิ่งเดียวที่โจรขโมยจากเราไปไม่ได้ , ผู้มีศีลย่อมได้รับคำชื่นชมและมีความสุขสงบใจอันเกิดจากกุศล , ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (2) , สุภาษิตและสำนวนในภาษาอังกฤษ (1) , คำคมภาษาอังกฤษ , 'เชื่อมั่นในตน' เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ , ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน , ชนะตนแล ประเสริฐกว่า , ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ , คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ , ธรรมเป็นเหตุให้ยศเจริญ , ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก , ชนเหล่าใดประมาท ชนเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว , จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ , เพียงดังแก้วมณีโชติรส , ผู้ดำเนินชีวิตโดยธรรม , ผู้เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ , ผู้เพ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย , พุทธภาษิตเกี่ยวกับความตาย , ความไม่รู้เป็นมลทินร้ายที่สุด , คนชั่วช้า ไม่พ้นตาสังคม , เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น , เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี , ช่วยกันเขียนให้ถูก และแปล อย่าให้ผิด , ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้ , การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง , คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
0 comments: