วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

สมณกรณียธรรม ๒๐ ประการ

สมณกรณียธรรม ๒๐ ประการ

1. เสฏฺฐภูมิสโย ตั้งอยู่ในภูมิอันประเสริฐ (ประกอบด้วยความกรุณาแลความสัตย์  เป็นต้น) 2. อคฺเค นิยโม     นิยมในกิจอันเลิศ 3. จาโร มีความประพฤติ 4. วิหาโร มีวิหารธรรมแลอิริยาบถอันสมควร 5. สญฺญโม สำรวมอินทรีย์ 6. สํวโร สำรวมในปาฏิโมกขสังวรศีล 7. ขนฺติ ประกอบด้วยความอดใจ 8. โสรจฺจํ ความเป็นผู้สงบเสงี่ยม (ความเป็นผู้แช่มชื่น) 9. เอกนฺตาภิรติ ความยินดีในธรรมอันแท้ 10. เอกนฺตจริยา ความประพฤติในธรรมอันเที่ยงแท้

11. ปฏิสลฺลินี มีปกติเข้าที่เร้น 12. หิริ มีความละอายแก่บาป 13. โอตฺตปฺปํ มีความสะดุ้งกลัวบาป 14. วิริยํ มีความเพียร 15. อปฺปมาโท มีความไม่ประมาท 16. อุทฺเทโส บอกกล่าวเร่าเรียนบาลี (พุทธพจน์) 17. ปริปุจฉา บอกกล่าวเร่าเรียนอรรถกถา 18. สีลาทิรติ ยินดีในคุณพระธรรมทั้งหลาย มีสีลคุณ  เป็นต้น 19. นิราลยตา ไม่มีความอาลัย 20. สิกฺขาปทปาริปูรี ความบริบูรณ์ด้วยสิกขาบท

ภิกษุสามเณร ประกอบด้วยสมณกรณียธรรม คือ ธรรมสำหรับสมณะประพฤติ ๒๐ ประการนี้  ทำให้บริบูรณ์เต็มที่มิให้บกพร่อง ก็อาจสามารถจะย่างลงสู่อเสขภูมิแลอรหัตตภูมิได้ นี้ พระนาคเสนตอบพระราชปุจฉาพระยามิลินท์ นอกจากภิกษุสามเณรจะตั้งอยู่ในสมณกรณียธรรม ๒๐ ประการนี้แล้ว จะต้องทรงไว้ซึ่งเพศอันอุดม ๒ อย่าง อันสมควรจะกราบไหว้เคารพบูชาสักการะแลนับถือ คือ

1. ภณฺฑภาโว คือทรงผ้ากาสาวพัสตร์ 2. มุณฺฑภาโว  คือมีศีรษะโล้น (โกนผม)

ที่มา: http://dhamma.serichon.us






post written by:

Related Posts

  • ถามกรัชกายของตนดูก็จะรู้ว่า "รักเป็นไหม"ถามกรัชกายของตนดูก็จะรู้ว่า "รักเป็นไหม"กรัชกาย [กะ-รัด-ชะ-กาย] คือกายอันเกิดด้วยธุลีถามว่า "รักใครสักคนได้ไหม"ตอบว่า "ได้จ้าาาา"ถามว่า "จะรักมากไหม"ตอบว่า "รัก… Continue Reading
  • "เปือกตมของพรหมจรรย์""เปือกตมของพรหมจรรย์"ถึงแม้เปือกตมจะเป็นเลนตมที่ละเอียด แต่ก็ทำให้น้ำขุ่นมัว ไม่ใส ฉันใดลาภก็ดี สักการะก็ดี ความสรรเสริญก็ดี การบูชาก็ดี ก็เป็นดังเปือกตมของพรหม… Continue Reading
  • “ในร้อนมีเย็น ในเย็นก็มีร้อน”“ในร้อนมีเย็น ในเย็นก็มีร้อน”เมื่อมีความเจริญ ความเสื่อมก็จำต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อมีความทุกข์ แม้ชื่อว่าความสุขก็ย่อมมี ฉะนั้นเมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่ นิพพาน … Continue Reading
  • สนทนากันด้วยถ้อยคำที่ให้เกิดเป็นมงคลเถิดสนทนากันด้วยถ้อยคำที่ให้เกิดเป็นมงคลเถิดหากสนทนากันด้วยถ้อยคําหรือคํากล่าวในเรื่องพระวินัย ก็ควรกล่าวเพื่อให้เกิดความระวัง ความเหนี่ยวรั้ง และความป้องกันการประพ… Continue Reading
  • ศาสนาว่าด้วยการสั่งสอน (มิใช่การใช้อำนาจ)ศาสนาว่าด้วยการสั่งสอน (มิใช่การใช้อำนาจ)ว่าโดยเหตุผล๑. เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิดมาก (ชอบประพฤติผิดศีล) เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามที่มีควา… Continue Reading

0 comments: