วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

"ใครจะมีปัญญาชนิดไหนก็ได้ ขอแต่ให้มันมีผลคือไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนก็แล้วกัน" (พุทธทาสภิกขุ)

ใครจะมีปัญญาชนิดไหนก็ได้ ขอแต่ให้มันมีผลคือไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนก็แล้วกัน

สำหรับตัวปัญญานี้ มันก็มีความหมายที่พร่า คืออะไรๆ ก็เรียกว่าปัญญาได้ แล้วก็ถูกต้องได้: แต่ถ้าจะเล็งถึงจุดสำคัญเป็นใจความสั้นๆ เพียงข้อเดียวแล้ว มันก็พูดได้อีกเหมือนกันคือ ปัญญาสำหรับจะไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวตน หรือเป็นของๆ ตน. บางคนจะไปพูดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้มันก็ถูก มันก็มากคำพูด; เพราะว่าเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็คือทำลายความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน.

เราจึงมาสรุปความสั้นๆ ว่าใครจะมีปัญญาชนิดไหนก็ได้ ขอแต่ให้มันมีผลคือไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนก็แล้วกัน: นี่คือปัญญาอันแท้จริง ในพระพุทธศาสนา : แยกแขนงออกไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, แล้วก็เห็นความเกิด ความดับ, เห็นนามรูป เหตุปัจจัยต่างๆ: มันก็ไปกันมากมายหลายร้อยประเด็น หลายร้อยคำพูด แต่ถ้าสรุปแล้วก็ว่า รู้เท่าทันที่จะไม่ไปเกิดความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความเป็นตัวตน - ของตน  ปัญญามันอยู่ที่นี่

พัสสิกไตรเทศนา (น.260), ธรรมโฆษณ์ l พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : Line ปันบุญ ปันธรรม


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: