จิตเป็นธรรมชาติที่ดิ้นรนไปในอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น หวั่นไหวง่าย ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นาน ประดุจทารกไม่อาจทรงตัวอยู่ในอิริยาบทใดอิริยาบถหนึ่งได้นานมักล้มลงบ่อยๆ
ฉะนั้น โดยเฉพาะในอารมณ์กัมมัฏฐานรักษาได้ยาก แม้จะเป็นอารมณ์ธรรมที่เป็นสัปปายะก็รักษาให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้นได้ยาก ห้ามมิให้ซ่านไปในวิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นฆ่าศึกต่อกุศล) ก็ทำได้ยาก มักยินดีในกามคุณ ๕ เมื่อถูกพรากจากกามคุณ ๕ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เพื่อให้หยุดนิ่งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานก็จะดิ้นรนไปมา ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้
ผู้มีปัญญาเท่านั้นสามารถควบคุมจิตให้ตรงได้ ดังช่างศรสามารถดัดลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
ดังพระพุทธพจน์ว่า “จิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ผู้มีปัญญาสามารถควบคุมให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น”
สาระธรรมจากเรื่องพระเมฆิยเถระ ในจิตตวรรค ธรรมบท
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ)
14/7/64
0 comments: