วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ที่ว่า ‘ธรรมอันบุคคลพึงเห็นได้เอง’ นั้นเป็นอย่างไร?

ที่ว่า ‘ธรรมอันบุคคลพึงเห็นได้เอง’ นั้นเป็นอย่างไร?

[สมัยหนึ่ง โมฬิยสิวกปริพาชก (นักบวชศาสนาอื่น) ได้ถามพระพุทธเจ้าว่า]

ม:  ภันเต ที่ท่านพูดว่าธรรมอันบุคคลพึงเห็นได้เองนั้น เป็นอย่างไรหรือ?

พ:  สิวกะ เราขอถามท่านกลับว่า ถ้าใจท่านเกิดโลภขึ้นมา ท่านจะรู้ไหม? หรือถ้าใจท่านไม่มีความโลภ ท่านจะรู้ไหม?

ม:  รู้ท่าน

พ:  การที่ท่านรู้ว่าใจท่านมีความโลภหรือไม่มีความโลภอยู่นี่แหละ เรียกว่า ธรรมอันบุคคลพึงเห็นได้เอง     ถ้าใจท่านเกิดโทสะ..โมหะขึ้นมา ท่านจะรู้ไหม? หรือถ้าใจท่านไม่มีโทสะ..โมหะ ท่านจะรู้ไหม?

ม:  รู้ท่าน

พ: การที่ท่านรู้ว่าใจท่านมีโทสะ..โมหะหรือไม่มีโทสะ..โมหะอยู่นี่แหละ เรียกว่า ธรรมอันบุคคลพึงเห็นได้เอง

ม:  คำสอนของท่านแจ่มแจ้งมาก เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องแสงในที่มืด ผมขอถือท่าน คำสอนของท่าน และพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสอนของท่านเป็นที่พึ่ง (สรณะ) ขอท่านโปรดจำผมว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจากวันนี้เป็นต้นไป.

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 36 (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค 3 ธรรมิกวรรค ปฐมสันทิฏฐิกสูตร ข้อ 318), 2559, น.659-660





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: