ให้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ตัวอยู่ทุกขณะ
[หลังเดินทางออกจากหมู่บ้านนาทิกะ พระพุทธเจ้าและคณะได้เดินทางไปนครเวสาลีและเข้าพัก ณ สวนอัมพปาลี จากนั้นท่านได้กล่าวกับเหล่าภิกษุว่า]
พ: ภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ นี่เป็นคำที่เราพร่ำสอนพวกเธอ
มีสติอย่างไร?
-พิจารณาเห็นกายในกาย (เห็นกายย่อยเช่น ลมหายใจ ในร่างกายใหญ่) -พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา (เห็นความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์) -พิจารณาเห็นจิตในจิต (เห็นความโลภ โกรธ หรือหลง) -พิจารณาเห็นธรรมในธรรม (เห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่มีตัวมีตน) เป็นผู้มีความเพียร ไม่ถูกกิเลสครอบงำทั้งในแง่ติดใจอยากได้และขัดเคืองเสียใจในโลกนี้
มีสัมปชัญญะอย่างไร?
เป็นผู้รู้ตัวอยู่เสมอขณะห่มจีวร ถือบาตร กิน ดื่ม หรือถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
เป็นผู้รู้ตัวอยู่เสมอขณะเดิน ยืน นั่ง นอน ตื่น พูด หรือสงบนิ่ง
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 13 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ภาค 2 เล่ม 1 มหาปรินิพพานสูตร ข้อ 90), 2559, น.257-258
หมอรักษาพระพุทธเจ้า, ไม่ฉันเนื้อใน 3 กรณี, เหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืม, พระพุทธเจ้ารับการรักษาและรับจีวรจากหมอชีวกโกมารภัจจ์, ตถาคตเลิกให้พรแล้ว, คุณ 5 ข้อของการนอนแบบมีสติรู้ตัว, แก้ปัญหาภิกษุโกสัมพีทะเลาะกัน (ตอนที่ 1), (ตอนที่ 2), (ตอนที่ 3), (ตอนที่ 4), (ตอนที่ 5), (ตอนจบ), "คว่ำบาตร" มีที่มาอย่างไร, เรื่องไม้ชำระฟัน , วันมาฆบูชา , โอวาทปาฏิโมกข์ - Ovādapātimokkha , โอวาทปาติโมกข์ , แว่นธรรม-แว่นมองอนาคตตัวเอง, ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว , วิหารทาน เป็นทานอันเลิศ ที่พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญ
0 comments: