วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564

อนังคณสูตร สูตรที่ว่าด้วยบุคคลผู้มีกิเลส

สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

อนังคณสูตร : สูตรที่ว่าด้วยบุคคลผู้มีกิเลส สะสมเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่

ที่มาของพระสูตร วันหนึ่ง ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวกับภิกษุทั้งหลายโดยตั้งประเด็นเป็นหัวข้อเพื่ออธิบายความให้เข้าใจแจ่มชัด ดังนี้

ส่วนของหัวข้อ ในโลกนี้ มีบุคคลอยู่ 4 ประเภท คือ  1.ผู้มีกิเลสสะสมเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่ แต่ไม่รู้ตัวว่ามี  2.ผู้มีกิเลสสะสมเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่ และรูัตัวว่ามี  3.ผู้ไม่มีกิเลสสะสมเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่ แต่ไม่รู้ตัวว่าไม่มี  4.ผู้ไม่มีกิเลสสะสมเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่ และรู้ว่าไม่มี

ส่วนของคําอธิบาย

ท่านพระโมคคัลลานเถระ เปิดประเด็นเป็นหัวข้อ โดยการตั้งเป็นคำถามเพื่อให้ท่านพระสารีบุตรเถระอธิบายรายละเอียด ดังนี้ 

ถามว่า : 1.อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยทำให้บุคคลผู้มีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนเนินอันกว้างใหญ่ แตกต่างกัน 2.อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยทำให้บุคคลผู้ไม่มีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนเนินอันกว้างใหญ่แตกต่างกัน

ตอบ : ในคู่บุคคลผู้มีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่ 2 ประเภทนั้น บุคคลประเภทที่ 1. ชื่อว่าต่ำทราม เพราะเป็นไปได้ว่า ความไม่รู้ตัวนั้นจะทำให้เขาไม่มีฉันทพยายามที่จะละกิเลสเหล่านั้น เขาจึงมีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนกองเนินอันกว้างใหญ่ต่อไป และจะมีจิตหม่นหมองขณะตาย ทุคติจึงเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือนภาชนะสำริดเปี้อนฝุ่นสนิมจับเกรอะกรังก่อนนำมาจากร้านตลาดหรือตระกูลช่างทอง เจ้าของมืได้สนใจดูแล ซ้ำยังทิ้งไว้ในที่มีฝุ่นละออง ภาชนะนั้นจึงหม่นหมองถูกสนิมจับยิ่งขึ้น ส่วนบุคคลประเภทที่ 2.ชื่อว่าประเสริฐ เพราะเป็นไปได้ว่า ความรู้ตัวของเขาจะทำให้เขามีฉันทพยายามที่จะละกิเลสเหล่านั้นให้หมดไป จิตไม่หม่นหมองขณะตายไป สุคติจึงเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เปื้อนฝุ่นสนิมจับเกรอะกรังมาจากร้านตลาดหรือตระกูลช่างทอง แต่เจ้าของดูแลขัดสีดี ใช้สอยก็บำรุงเป็น จึงไม่หม่นหมอง

ในคู่บุคคลผู้ไม่มีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนเนินอันกว้างใหญ่(เช่นพรหมลูกฟักที่ปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ 7) 2 ประเภทนั้น บุคคลประเภทที่ 3. ชื่อว่า ต่ำทราม เพราะเป็นไปได้ว่า เขาจะมนสิการสุภนิมิตร ฃึ่งเป็นเหตุให้มีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนเนินอันกว้างใหญ่กลับเกิดขึ้นได้อีก และทำให้จิตของเขาหม่นหมองขณะตาย ทุคติจึงเป็นอันหวังได้ ้เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่สะอาดหมดจดมาจากร้านตลาดหรืิอตระกูลช่างทอง แต่เจ้าของมืได้ใส่ใจดูแลขัดสี ฃ้ำยังทิ้งไว้ในที่มีฝุ่นละออง จึงหม่นหมอง ถูกสนิมจับได้ ส่วนบุคคลประเภทที่ 4. ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะเป็นไปได้ว่า เขาจะมนัสสิการอสุภนิมิต ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่มีการสะสมกิเลสเป็นเหมือนเนินอันกว้างใหญ่เกิดขึ้น ทำให้จิตไม่หม่นหมองขณะตาย สุคติจึงเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่สะอาดหมดจดมาจากร้านตลาดหรือตระกูลช่างทอง ที่้เจ้าของใส่ใจดูแลขัดสีดี ซ้ำยังเก็บรักษาไว้ในที่ไม่มีฝุ่นละออง ใช้สอยก็บำรุงเป็น จึงไม่หม่นหมอง

(สาระอนังคณสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จากนิสสยะ อักษรปัลลวะ อักษรธรรมล้านช้าง)

ที่มา : http://dhamma.serichon.us


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: