มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้
มิลินทปัญหา, มิลินทปัญหานิสสยะ ครั้งที่ ๕, มิลินทปัญหากัณฑ์ ที่ ๒ พุทธวรรคที่ ๕, ปัญหาที่ ๕ ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้.
พระเจ้ามิลินท์สงสัยว่า จิตเคลื่อนไปในภพใหม่ได้ โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไปจากภพเก่าหรือไร.
เกี่ยวกับเรื่องนี้
คำว่า จิตที่ไม่เคลื่อนไป ได้แก่ จุติจิต ซึ่งดับไปแล้ว จึงไม่มีอะไรที่จะเคลื่อนไป เพราะดับไปแล้ว แต่ทว่า จิตที่เคลื่อนไปสู่ภพใหม่ เป็นปฏิสนธิจิต ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจจุติจิตที่ดับไปแล้วนั่นแหละเป็นปัจจัย ในภพใหม่ ด้วยเหตุนี้ จิตเคลื่อนไปสู่ภพใหม่ ไม่ใช่จิตดวงเก่าที่ดับไปแล้ว แต่เป็นจิตดวงใหม่.
พระนาคเสนเถระอุปมาให้เห็นว่า
๑.เปรียบเหมือนกับการจุดประทีปดวงใหม่ โดยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายดวงเก่ามาด้วย ก็ได้ประทีปดวงใหม่ได้ เพราะมีประทีปดวงเก่าเป็นปัจจัยนั่นเอง
๒. เปรียบเหมือนคำสรรเสริญหรือเกียรติคุณที่ศิษย์ได้รับจากอาจารย์ โดยที่คำสรรเสริญนั้น มิได้ย้ายมาจากอาจารย์ แต่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอาจารย์เป็นผู้มอบให้
เรื่องนี้อาจดูเข้าใจยากสักเล็กน้อย แม้ข้าพเจ้าเอง แรกๆ ที่แปล ก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่อ่านไปหลายๆครั้ง และพิจารณาคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ ฏีกาจารย์ ตลอดจนคำอธิบายของท่านอาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์ ที่ได้อธิบายไว้ จึงได้ความกระจ่างพอสมควร
ขอท่านสาธุชนจงรื่นรมย์กับคำปุจฉาวิสัชนา ระหว่างพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนเถระ ได้ดังต่อไปนี้.
๕. อสงฺกมนปฏิสนฺทหนปญฺโห- ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้
๕. ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ จิตฺตํ จิต น สงฺกมติ ย่อมไม่เคลื่อนไป จ ด้วย, ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ จ ด้วย หรือ ดังนี้?[1]
เถโร พระเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาม เจริญพร จิตฺตํ จิต น สงฺกมติ ย่อมไม่เคลื่อนไป จ ด้วย, ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ จ ด้วย ดังนี้.[2]
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ จิตฺตํ จิต น สงฺกมติ ย่อมไม่เคลื่อนไป จ ด้วย, ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ จ ด้วย กถํ อย่างไร, ตฺวํ ขอท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา ดังนี้ ?.
เถโร พระเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โกจิเทว ปุริโส บุรุษบางคนนั่นเทียว ปทีปํ ยังประทีป ปทีเปยฺย พึงให้ลุกโพลง ปทีปโต จากประทีปอีกดวงหนึ่ง, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส ปทีโป ประทีปนั้น สงฺกนฺโต ชื่อว่า เคลื่อนไป ปทีปมฺหา จากประทีปดวงก่อน กิํนุ โข หรือหนอแล ?
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส ปทีโป ประทีปนั้น สงฺกนฺโต ชื่อว่า เคลื่อนไป ปทีปมฺหา จากประทีปดวงก่อน น หามิได้ ดังนี้.
เถโร พระเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส ปทีโป ประทีปนั้น สงฺกนฺโต ชื่อว่า เคลื่อนไป ปทีปมฺหา จากประทีปดวงก่อน น หามิได้ ยถา ฉันใด, จิตฺตํ จิต น สงฺกมติ ย่อมไม่เคลื่อนไป จ ด้วย, ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ จ ด้วย เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ตฺวํ ขอท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา ภิยฺโย โดยยิ่งขึ้น ดังนี้.
เถโร พระเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ตฺวํ มหาบพิตร ทหรโก เมื่อยังเป็นราชกุมารทรงพระเยาว์ สนฺโต มีอยู่ อภิชานาสิ ยังจำได้อยู่ นุ หรือไม่ อิติ ว่า สิโลกํ การสรรเสริญ (เกียรติคุณ) กิญฺจิ บางอย่าง ตยา อันมหาบพิตร คหิตํ เคยได้รับแล้ว สนฺติเก ในสำนัก สิโลกาจริยสฺส แห่งอาจารย์ผู้มีเกียรติคุณ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ ดังนี้.
เถโร พระเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส สิโลโก เกียรติคุณนั้น สงฺกนฺโต ย้ายมาแล้ว อาจริยมฺหา จากอาจารย์ กิํนุ โข หรือหนอแล ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส สิโลโก เกียรติคุณนั้น สงฺกนฺโต ย้ายมาแล้ว อาจริยมฺหา จากอาจารย์ น หามิได้ ดังนี้.
เถโร พระเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร [โส สิโลโก เกียรติคุณนั้น สงฺกนฺโต ย้ายมาแล้ว อาจริยมฺหา จากอาจารย์ น หามิได้ ยถา ฉันใด], จิตฺตํ จิต น สงฺกมติ ย่อมไม่เคลื่อนไป จ ด้วย, ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ จ ด้วย เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล ดังนี้.[3]
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตฺวํ พระคุณเจ้า กลฺโล = ปฏิพโล = สมตฺโถ เป็นผู้สามารถในการตอบปัญหา อสิ ย่อมเป็น ดังนี้.
อสงฺกมนปฏิสนฺทหนปญฺโห - ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้. ปญฺจโม ลำดับที่ ๕ นิฏฺฐิโต จบแล้ว.
[1] พระเจ้ามิลินท์สงสัยว่า จิตเคลื่อนไปในภพใหม่ได้ โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไปจากภพเก่าหรือ.
[2] คัมภีร์อรรถกถามิลินทปัญหาอธิบายว่า คำว่า จิต ในคำว่า จิตย่อมไม่เคลื่อนไป ได้แก่ จิตดวงก่อนหน้า กล่าวคือ จุติจิต. ส่วนคำว่า จิต ในคำว่า ย่อมปฏิสนธิ ได้แก่ จิตดวงหลัง กล่าวคือ ปฏิสนธิจิต. ในจิตสองดวงนี้ จิตดวงแรก ย่อมดับไป โดยทำหน้าที่จุติ (เคลื่อนหรือตายจากภพก่อน) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีจิตใดๆ เคลื่อนจากภพก่อนมาสู่ภพนี้. จิตดวงหลัง ย่อมเกิดขึ้นโดยทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจในภพนี้ เพราะจิตดวงต้นแตกดับไป, เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่จิตไรๆ ที่มาสู่ภพนี้จากภพก่อนเช่นกัน. อนึ่ง จิตดวงหลังแม้ไม่ปะปนกันกับจิตดวงแรก (เหตุที่จิตดวงแรกดับสิ้นไป) จึงสามารถปฏิสนธิในภพนี้ได้ โดยเนื่องด้วยความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุและผล. มีอรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า จิตดวงก่อนหน้าอันเป็นจิตดวงสุดท้ายของภพก่อน ชื่อว่าจุติ (เคลื่อน), จิตดวงหลังอันเป็นจิตดวงแรกของภพนี้ ชื่อว่า ปฏิสนธิ.
จิตดวงก่อนหน้า ทำหน้าที่จุติคือเคลื่อนจากภพแล้วก็แตกดับไปในขณะนั้นนั่นแหละ หาเคลื่อนไปในภพถัดไปได้ไม่ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีจิตอะไรๆ เคลื่อนจากภพเก่าสู่ภพนี้. ก็ที่ได้ชื่อว่า จุติจิต แปลว่า จิตเคลื่อน ก็เพราะว่ามีกิจหรือหน้าที่ที่เป็นเหมือนการเคลื่อนจากภพเท่านั้น โดยเกี่ยวกับว่า พอดับไปก็เป็นเหตุให้มีภพใหม่,ไม่ใช่เคลื่อนไปได้จริงๆ. อนึ่ง พอจิตดวงก่อนนี้ดับไปแล้ว จิตดวงหลังก็เกิดขึ้นทำหน้าที่ปฏิสนธิ คือทำหน้าที่เหมือนกับว่าเชื่อมภพใหม่เข้ากับภพเก่า ทำให้มีภพใหม่ต่อไปอีก เมื่อเป็นอย่างนี้ก็กล่าวได้ว่า จิตดวงนี้ไม่ใช่จิตที่เคลื่อนมาจากภพก่อน.ก็เป็นอันว่าจิตดวงก่อนกับจิตดวงหลังเป็นจิตคนละดวงกัน ไม่ปะปนกัน แต่ว่าเป็นไปเกี่ยวข้องกันโดยเป็นเหตุและผลกัน. (หนังสือมิลินทปัญหาแปล โดย อ.ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์)
[3] อุปมาด้วยประทีปและเกียรติคุณนี้ เป็นเพียงการเปรียบเทียบให้เห็นซึ่งการไม่ตามมาแห่งไฟของประทีปดวงเก่ามาสู่ดวงใหม่และเกียรติคุณของอาจารย์ที่มาสู่ศิษย์ แต่จิตซึ่งเป็นอุปไมย ที่ไม่ตามมาเหมือนอุปมานั้น ต่างกันตรงที่จิตดวงเดิมคือจุติจิต แตกดับไปแล้ว จึงไม่มีจิตไรๆ ตามมา แต่ที่ตามมาได้คือจิต ที่ปฏิสนธิได้ด้วยอำนาจความสืบต่อที่เกิดขึ้นเพราะความดับไปแห่งจิตดวงต้นส่งผลให้จิตดวงถัดไปเกิดขึ้นเท่านั้น ดังอรรถาธิบายของคัมภีร์อรรถกถาข้างต้นนั้น. ด้วยเหตุนี้แหละ พระเถระจึงยอมรับว่า จิตไม่เคลื่อนย้าย แต่ปฏิสนธิได้ ดังอุปมาทั้งสองนั้น.
ขออนุโมทนา, สมภพ สงวนพานิช
ที่มา : http://dhamma.serichon.us
มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) , (ตอนที่ 49) , (ตอนที่ 48) , (ตอนที่ 47) , (ตอนที่ 46) , (ตอนที่ 45) , (ตอนที่ 44) , (ตอนที่ 43) , (ตอนที่ 42) , (ตอนที่ 41) , (ตอนที่ 40) , (ตอนที่ 39) , (ตอนที่ 38) , (ตอนที่ 37) , (ตอนที่ 36) , (ตอนที่ 35) , (ตอนที่ 34) , (ตอนที่ 33) , (ตอนที่ 32) , (ตอนที่ 31) , (ตอนที่ 30) , (ตอนที่ 29) , (ตอนที่ 28) , (ตอนที่ 27) , (ตอนที่ 26) , (ตอนที่ 25) , (ตอนที่ 24) , (ตอนที่ 23) , (ตอนที่ 22) , (ตอนที่ 21 ต่อ) , (ตอนที่ 21) , (ตอนที่ 20) , (ตอนที่ 19) , (ตอนที่ 18) , (ตอนที่ 17) , (ตอนที่ 16) , (ตอนที่ 15) , (ตอนที่ 14) , (ตอนที่ 13) , (ตอนที่ 12) , (ตอนที่ 11) , (ตอนที่ 10) , (ตอนที่ 9) , (ตอนที่ 8) , (ตอนที่ 7) , (ตอนที่ 6) , (ตอนที่ 5) , (ตอนที่ 4) , (ตอนที่ 3) , (ตอนที่ 2) , (ตอนที่ 1) , ประโยชน์การอุปมาอันได้จากการศึกษาคัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์มิลินท์ปัญหาเป็นต้น , มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้ , เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า? , นิปปปัญจปัญหา - ปัญหาเกี่ยวกับธรรมที่ปราศจากเหตุให้เนิ่นช้าในวัฏฏทุกข์ , ถามว่า อานิสงส์การเจริญเมตตา ห้ามอันตรายต่างๆ เหตุไรสุวรรณสามผู้เจริญเมตตาจึงถูกยิงเล่า?
0 comments: