วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

นิปปปัญจปัญหา ​- ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์

นิปปปัญจปัญหา ​-ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์

ถามว่า​  ธรรมที่เป็นเหตุให้​เนิ่นช้า​ในวัฏฏทุกข์​ ก็คือ​ปปัญจธรรม​ 3 ได้แก่​ ตัณหา​ มานะ​ ทิฏฐิ ย่อมมีการดิ้นรน​ ไข่วคว้าให้วัฏฏทุกข์​ยืดยาว​ แต่ทำไม ธรรมที่มีสภาพตรงกันข้าม​ คือ​ นิปปปัญจธรรม​ คือ​ ธรรมที่ปราศจาก​เหตุเนิ่นช้า​ในวัฏฏทุกข์ ได้แก่​ บารมีธรรม 10​ เช่น​ ทานบารมี​ก็เป็นปฏิปักษ์​ต่อความตระหนี่​ ศีลบารมีก็เป็นปฏิปักษ์​ต่อความทุศีล​ ฯลฯ​ สติปัฏฐาน​ 4 ก็เป็นปฏิปักษ์​ต่อวิปัลลาส 4 และ​ตัณหา​กับทิฏฐิ​ วิปัสสนา​ญาณ​ ก็เป็นปฏิปักษ์​ต่อความยึดติด​วัฏฏทุกข์​ แม้​ อริยมรรค​ 4​ อันเป็นทางหลุดพ้น​ และโดยเฉพาะ​อย่างยิ่ง​ อริยผล​ 4​ อันเป็นสถานภาพความเป็นพระอริยบุคคล​แล้ว​ ไฉนถึงยังมีกิจขวนขวาย​ มีการเรียนพระปริยัติ​ เป็นต้นอีกเล่า?​

นิปปปัญจปัญหา​ - ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์

พระเจ้า​มิลินท์​ "พระคุณ​เจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อ​นี้ไว้ว่า​ ‘ นิปฺปปญฺจาราโม​ ภิกฺขเว​ วิหรถ​ นิปฺปปญฺจรติโน -​ ดูก่อน​ ภิกษุ​ทั้งหลาย​ พวกเธอจงมีนิปปปัญจธรรมไว้ยินดี มีความยินดีอยู่ในนิปปปัญจธรรมเถิด​ ‘​ ดังนี้​ นิปปปัญจธรรมเป็นไฉน? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง​ได้แก่​ ธรรมประเภทไหนเล่า?”

พระนาคเสน​ "ขอถวายพระพร​ เป็นธรรมที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่นช้าในวัฏฏทุกข์​ โดยเฉพาะ​อย่างยิ่ง​ ได้แก่​ อริยผล​ 4​ อันเป็นธรรมที่เป็นสถานภาพความเป็นพระอริยบุคคล​ 4​ ประเภท​ มี​ โสดาปัตติผลบุคคล​ 1.สกทาคามิผลบุคคล​ 1.อนาคามิผลบุคคล​ 1.อรหัตผล​บุคคล​ 1."

พระเจ้า​มิลินท์​ "พระคุณ​เจ้านาคเสน​ ถ้าหากว่า​ อริยผล​ 4​ นับเป็นนิปปปัญจธรรมอันยิ่งยวดแล้วไซร้​ ถ้าอย่างนั้น​ภิกษุ​เหล่าใดยังยกนวังคสัตถุศาสน์(คำสอนของพระศาสดามีองค์​ 9 มี​ สุตตะ เคยยะ​ เวยยากรณะ คาถา​ อุทาย​ อิติวุตตกะ​ ชาดก​ อัพภูตธรรม​ เวทัลละ)​ขึ้นแสดงขึ้นไต่ถาม​อยู่​ ยังยุ่งเกี่ยวกับงานก่อสร้างอยู่​ ยังยุ่งเกี่ยวกับทานและการบูชาอยู๋​ ภิกษุ​เหล่านั้น​จักไม่ถือว่า​ ประพฤติ​ปฏิบัติ​ตนขัดแย้ง​กับพระพุทธดำรัจหรือหนอ.?"

พระนาคเสน​ "ขอถวายพระพร​ ภิกษุเหล่าใด​ ยังจำเป็นต้องยกนวังคสัตถุศาสน์ขึ้นแสดงขึ้นไต่ถามอยู่​ ยังจำเป็นต้องยุ่งเกี่ยวกับการก่อสร้างอยู่​ ยังจำเป็นต้องยุ่งเกี่ยวกับทานและการบูชาอยู่​ ภิกษุเหล่านั้นล้วนชื่อว่า​ กระทำเพื่อการบรรลุนิปปปัญจธรรมในส่วนที่เป็นอริยพล 4​ ทั้งสิ้น​ ขอถวายพระพร​ ส่วนภิกษุเหล่าใด​ เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์​แล้ว​ ด้วยกิจนวังคสัตถุศาสน์​ กิจทาน​ กิจการบูชา เป็นต้น​ และมีบารมีเต็มเปี่ยมาแล้ว​ ย่อมบรรลุนิปปปัญจธรรม​ อันเป็นส่วนอริยผล​ 4​ โดยต่อจากอริยมรรค​ 4​ เพียงขณะจิตเดียว(ไม่มีระหว่างคั่น)​ ส่วนภิกษุเหล่าใด​ ยังเป็นผู้ที่ตาปัญญามีธุลีมาก​ อยู่​ ภิกษุเหล่านั้น​ จะบรรลุ​ความเป็นผู้มีนิปปปัญจธรรมอันเป็นส่วนอริยผล​ 4 ด้วยประโยคะ​ คือ​ ความพยายามขวนขวาย​ กิจนวังคสัตถุศาสน์​ กิจทาน​ กิจการบูชา​ เป็นต้น​นั้นเอง.

ขอถวายพระพร​ เปรียบเหมือนว่า​ บุรุษคนหนึ่ง​ หว่านพืชไว้ในที่นาดีแล้ว​ ก็พึงใช้ความพยายาม​ตามสมควรแก่กำลังของตน​ เก็บเกี่ยวธัญญชาติ(ข้าว)​ได้​ โดยเว้นการล้อมรั้ว, ส่วนบุรุษ​อีกคนหนึ่ง​ ทั้งๆที่หว่านพืชในนาดีแล้วเหมือนกัน​ ก็ยังจำเป็นต้องเข้าป่าตัดท่อนไม้และกิ่งไม้มาทำรั้วล้อม​ จึงจะมีโอกาส​ก็บ​เกี่ยวธัญญชาติได้​ อุปมาเป็นฉันใด​ อุปมัยก็เป็นฉันนั้นนั่นแหละ​

ขอถวายพระพร​ หมายความว่า ภิกษุเหล่าใด​ เป็น​ผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์​ด้วยกิจนวังคสัตถุศาสน์​ กิจทาน​ กิจการบูชา​ ​เป็นต้น​ และเต็มเปี่ยม​ด้วยบารมีที่ได้อบรมไว้แล้วในภพก่อน, ภิกษุเหล่านั้น​ย่อมบรรลุ​นิปปปัญจธรรมอันเป็นส่วนอริยผล​ 4​ ได้​ โดยขณะจิตเดียว​ คือต่อจากอริยมรรค​ 4 ทันทีไม่มีระหว่าง​คั่น​ จึงเปรียบได้กับบุรุษผู้เก็บเกี่ยวธัญญชาติได้​ โดยไม่จำเป็นต้องมีรั้วกั้นนั่นเอง​ ส่วน​ ภิกษุเหล่าใด​ เป็นผู้ที่ตาปัญญายังมีธุลีอยู่มาก​ ภิกษุ​เหล่านั้น​ย่อมบรรลุนิปปปัญจธรรมอันเป็นส่วนอริยผล​ 4​ได้ ก็โดยยังจำเป็นต้องอาศัยประโยคะ​ คือ​ ความเพียรพยายามขวนขวาย​ กิจนวังคสัตถุ​ศาสน์​ กิจทาน​ กิจการบูชา​เป็นต้น​ จึงเปรียบได้กับบุรุษ​ที่จำเป็นต้องทำรั้วล้อมไว้ก่อน​ ถึงจะมีโอกาสเก็บเกี่ยวธัญ​ญชาติได้นั่นเอง

ขอถวายพระพร​ อีกอุ​ปมาหนึ่ง​ เปรียบเหมือน​ ช่่อผลมะม่วงที่มีอยู่บนต้นมะม่วงใหญ่​ บุรุษผู้มีฤทธิ์ย่อมเหาะเก็บเอาช่อมะม่วงไปได้สะดวก​ ส่วนบุรุษผู้ไม่มีฤทธิ์​ ย่อมไม่สะดวกจำเป็นต้องตัดไม้และเถาวัลย์​ผูกเป็นะะองก่อน​ จึงจะไต่ไปเก็บเอาช่อมะม่วงได้​ อุปมา​เป็นฉันใด​ อุปมัยก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน

ขอถวายพระพร​ อีกอุปมาหนึ่ง​ เปรียบ​เหมือน​ ​พ่อค้าที่ฉลาดรอบรู้มีทักษะประสพการณ์​มาดีแล้ว​ ​ย่อมแสวงหากำไรได้โดยลำพังตนเอง​ ส่วนพ่อค้าผู้ไม่รอบรู้​ แต่มีทุนทรัพย์​ ก็ย่อมแสวงหากำไรได้​ โดยจ้างกลุมชนที่รอบรู้ช่วย​ อุปมาเป็นฉันใด​ อุปมัยก็เป็นฉันน​ั้นเหมือนกัน

ขอถวายพระพร​ อนึ่ง​ นิปปปัญจธรรม​ ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน​ ก็ล้วนสำคัญด้วยกันทุกส่วน​ เหตุเพราะทุกส่วนเนื่องกันอยู๋​ ไม่ได้ตัดขาดออกจากกันเสียที่เดียว​ ขึ้นอยู่กับสถานภาพของบุคคลที่ฝึกมามากน้อยต่างกัน​ ตัวอย่างท่านพระสารีบุตรเถระ​ มีกิจฟังพระคาถาสั้นน้อยนิดจากพระอัสสชิ​เพียงพระคาถาเดียวก็บรรลุ​โสดาบันทันที​ ดังนั้นแล​ ชาวพุทธ​บริษัททั้งหลาย​ พึงมีนิปปปัญจธรรม​ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนๆก็ตามไว้ยินดีเถิด​ สมดังพระดำรัจที่พระเจ้ามิลินท์​ ได้นำมาตั้งเป็นปัญหา​ถามพระนาคเสนเถระ​ เพื่อ​ประเทืองปัญญา​ให้แก่พวกเรานั่นแล

ที่มา : http://dhamma.serichon.us

มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) ,  (ตอนที่ 49) ,  (ตอนที่ 48) ,  (ตอนที่ 47) ,  (ตอนที่ 46) ,  (ตอนที่ 45) ,  (ตอนที่ 44) ,  (ตอนที่ 43) ,  (ตอนที่ 42) ,  (ตอนที่ 41) ,  (ตอนที่ 40) ,  (ตอนที่ 39) ,  (ตอนที่ 38) ,  (ตอนที่ 37) ,  (ตอนที่ 36) ,  (ตอนที่ 35) ,  (ตอนที่ 34) ,  (ตอนที่ 33) ,  (ตอนที่ 32) ,  (ตอนที่ 31) ,  (ตอนที่ 30) ,  (ตอนที่ 29) ,  (ตอนที่ 28) ,  (ตอนที่ 27) ,  (ตอนที่ 26) ,  (ตอนที่ 25) ,  (ตอนที่ 24) ,  (ตอนที่ 23) ,  (ตอนที่ 22) ,  (ตอนที่ 21 ต่อ) ,  (ตอนที่ 21) ,  (ตอนที่ 20) ,  (ตอนที่ 19) ,  (ตอนที่ 18) ,  (ตอนที่ 17) ,  (ตอนที่ 16) ,  (ตอนที่ 15) ,  (ตอนที่ 14) ,  (ตอนที่ 13) ,  (ตอนที่ 12) ,   (ตอนที่ 11) ,  (ตอนที่ 10) ,  (ตอนที่ 9) ,  (ตอนที่ 8) ,  (ตอนที่ 7) ,  (ตอนที่ 6) ,  (ตอนที่ 5) ,  (ตอนที่ 4) ,  (ตอนที่ 3) ,  (ตอนที่ 2) ,  (ตอนที่ 1) ,  ประโยชน์​การอุปมา​อันได้จากการศึกษา​คัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์​มิลินท์​ปัญหาเป็นต้น​ ,   มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้  ,  เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า?  ,  นิปปปัญจปัญหา ​- ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์  ,   ถามว่า​ อานิสงส์​การเจริญเมตตา​ ห้ามอันตราย​ต่างๆ​ เหตุไรสุวรรณ​สามผู้เจริญเมตตา​จึงถูกยิงเล่า?


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: