วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

บุคคลชื่อว่า​ "โพธิ" เพราะอรรถว่า​ ตรัสรู้, ธรรม​ 7​ อย่าง​ มีสติเป็นต้น​ ชื่อว่า​ โพชฌงค์​

 

บุคคลชื่อว่า​ "โพธิ" เพราะอรรถว่า​ ตรัสรู้, ธรรม​ 7​ อย่าง​ มีสติเป็นต้น​ ชื่อว่า​ โพชฌงค์​ 

บุคคลชื่อว่า​ "โพธิ” เพราะอรรถว่า​ ตรัสรู้, ธรรม​ 7​ อย่าง​ มีสติเป็นต้น​ ชื่อว่า​ โพชฌงค์​ เพราะอรรถว่า​ เป็นองค์​ คือเป็นสัมภาระที่ใชัเป็นอุปกรณ์​ในการตรัสรู้​ของบุคคลผู้ชื่อว่า​ "โพธิ​” นั้น​ ก็โพชฌงค์​มี​ 7​ อย่าง​ คือ​ สติสัมโพชฌงค์​ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์​ วิรยสัมโพชฌงค​์ ปีติสัมโพชฌงค​์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์​ สมาธิสัมโพชฌงค์​ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์, โดยตรง(นิปริยาย)​องค์ไหนทำกิจ​โพธิ​ โดยอ้อม(ปริยาย)​องค์​ 6 ที่เหลือทำกิจอะไรหรือ? แล้วทำไมองค์โพชฌงค์ทั้ง​ 7​ จึงมีอานุภาพทำให้พระอริยะ​เวลาป่วยไข้ เมื่อพิจารณา​แล้วสร่างไข้ได้เล่า? ประเด็นเหล่านี้แหละ​ที่คัมภีร์​มิลินท์​ปัญหา​นำมาตั้งเป็น​ "โพชฌงคปัญหา​” เพื่อสนทนาไขประเด็นให้พวกเราได้เข้าใจ

พระเจ้าม​ิ​ลินท์​ "พระคุณเจ้า​นาคเสน​ โพชฌงค์​มีเท่าไร?​”

พระนาคเสน​ "ขอถวายพระพร​ มหาบพิตร​ โพชฌงค์​ มี​ 7​ อย่าง​"

พระเจ้าม​ิ​ลินท์​ "พระคุณเจ้า​นาคเสน​ บุคคลย่อมตรัสรู้​ด้วยโพชฌงค์​กี่อย่าง?”

พระนาคเสนขอถวายพระพร​ บุคคลย่อมตรัสรู้​ด้วยโพชฌงค์​อย่างเดียว คือด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์​ ”

พระเจ้ามิลินท์​ "เมื่อเป็นเช่นนั้น​ เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า​ โพชฌงค์​มี​ 7​ อย่างเล่า​ พระคุณเจ้า​"

พระนาคเ​สน​ "ขอถวายพระพร​ มหาบพิตร​ พระองค์​จะทรงสำคัญความข้อนั้นอย่างไร, ดาบที่สอดไว้ในฝัก​ มิได้ใช้มือชักออกใช้​ อาจฟันสิ่งที่ตัดให้ขาดได้หรือ?”

พระเจ้า​มิลินท์​ "มิได้หรอกพระคุณเจ้า​”

พระนาคเ​สน​ "อุปมาเป็นฉันใด​ อุปมัยก็เป็นฉันนั้น​เหมือนกัน​ เว้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์​เสีย​ บุคคล​จะตรัสรู้​ด้วยโพชฌงค์​ 6 อย่างที่เหลือ​หาได้ไม่​ แต่ก็เป็นสัมภาระที่ขาดไม่ได้ดังในอุปมานั่นแหละ​ คือธัมมวิจยจะถึงความคมกล้า​มีพลานุภาพเต็มที่ได้ก็ด้วยโพชฌงค์​ 6 ที่เหลือเป็นสัมภาระให้​ ดังนั้นในคราวที่พระอริยะป่วยไข้ท่านถึงต้องพิจารณาองค์​ทั้ง​ 7​ ครบ​ จิตตชรูปอันเกิดจากปีติที่ตนพ้นจากทุกข์​ตามอริยมรรค​ที่ตนได้​ เช่น​ โสดาปัตติมรรคพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ​เป็นต้น​ ก็จะแผ่ซาบซ่านไปทั่วร่างกายเป็นเหตุให้สร่างไข้ได้นั่นแล.”

พระเจ้า​มิลินท์​ "พระคุณเจ้า​นาคเสน​ ท่านไขทุกประเด็นในปัญหาได้ครบกระจ่างชัดแล้วแล​"

ที่มา : http://dhamma.serichon.us

มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) ,  (ตอนที่ 49) ,  (ตอนที่ 48) ,  (ตอนที่ 47) ,  (ตอนที่ 46) ,  (ตอนที่ 45) ,  (ตอนที่ 44) ,  (ตอนที่ 43) ,  (ตอนที่ 42) ,  (ตอนที่ 41) ,  (ตอนที่ 40) ,  (ตอนที่ 39) ,  (ตอนที่ 38) ,  (ตอนที่ 37) ,  (ตอนที่ 36) ,  (ตอนที่ 35) ,  (ตอนที่ 34) ,  (ตอนที่ 33) ,  (ตอนที่ 32) ,  (ตอนที่ 31) ,  (ตอนที่ 30) ,  (ตอนที่ 29) ,  (ตอนที่ 28) ,  (ตอนที่ 27) ,  (ตอนที่ 26) ,  (ตอนที่ 25) ,  (ตอนที่ 24) ,  (ตอนที่ 23) ,  (ตอนที่ 22) ,  (ตอนที่ 21 ต่อ) ,  (ตอนที่ 21) ,  (ตอนที่ 20) ,  (ตอนที่ 19) ,  (ตอนที่ 18) ,  (ตอนที่ 17) ,  (ตอนที่ 16) ,  (ตอนที่ 15) ,  (ตอนที่ 14) ,  (ตอนที่ 13) ,  (ตอนที่ 12) ,   (ตอนที่ 11) ,  (ตอนที่ 10) ,  (ตอนที่ 9) ,  (ตอนที่ 8) ,  (ตอนที่ 7) ,  (ตอนที่ 6) ,  (ตอนที่ 5) ,  (ตอนที่ 4) ,  (ตอนที่ 3) ,  (ตอนที่ 2) ,  (ตอนที่ 1) ,  ประโยชน์​การอุปมา​อันได้จากการศึกษา​คัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์​มิลินท์​ปัญหาเป็นต้น​ ,   มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้  ,  เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า?  ,  นิปปปัญจปัญหา ​- ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์  ,   ถามว่า​ อานิสงส์​การเจริญเมตตา​ ห้ามอันตราย​ต่างๆ​ เหตุไรสุวรรณ​สามผู้เจริญเมตตา​จึงถูกยิงเล่า?



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: