วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564

'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ


'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

วันพระนั้น เดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

ประวัติความเป็นมาของวันธรรมสวนะ

ในสมัยพุทธกาล พระราชาพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระวิหารชื่อว่าเชตวัน และกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แลเห็น ซึ่งนักบวชศาสนาอื่นอีก ได้มีวันกำหนดนัดหมายประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในที่ประชุมของเขาทั้งหลาย เหล่านั้น แต่ว่า ข้าแแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนศาสนาพุทธของเราทั้งหลายย่อมมีวันกำหนดนัดหมายเพื่อประชุมกันหามิได้ ดังนี้." อันอันพระราชาพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลแล้ว พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุสงฆ์สาวกประชุมกันเพื่อสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ฟังกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ หรือว่า วันขึ้น14 ค่ำ หรือว่า วันขึ้น 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะเพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม

ในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมเหล่าภิกษุสงฆ์สาวกเพื่อทรงแสดงพระปาฏิโมกข์ ในช่วงเข้าพรรษา การประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้นก็ได้นัดหมายกันไปในที่ประชุม ต้องมีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งเป็นองค์สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุสงฆ์สาวกที่ร่วมเข้าฟังพระปาฏิโมกข์ ก็จะพร้อมเพียงกันสำรวมกาย วาจา และตั้งใจฟังจนกระทั่งสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธี

คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม, วันฟังธรรม ภาษาพูดที่เรียกว่า วันพระ เพราะ คำว่า" พระ"นั้น ใช้เรียกภิกษุจำนวนมากกว่า ๔ รูป ขึ้นไป ซึ่งก็หมายถึงความเป็นหมู่คณะ จึงเรียกว่า พระ หรือ สงฆ์ ทางพระพุทธศาสนาก็ยังได้กำหนดเรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกและอุบาสิกาผู้มีสัทธา ร่วมกันประพฤติและปฏิบัติตามธรรมสืบต่อกันมาจนถึงบัจจุบันนี้

ทางด้านศาสนพิธีของชาวบ้านนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้กำหนดให้มีพีธีต่างๆ มีการร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร จังหัน หวานคาวแด่พระภิกษุสงฆ์ และก็สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด ตามลำดับ

ในวันธรรมสวนะนี้ พุทธศาสนิกชนก็จะเข้าวัดร่วมกันประพฤติและปฏิบัติธรรม มีกิจกรรมต่างๆ มีการสมาทานศีล เช่น สมาทานและรับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ซึ่งเรียกว่า อุโบสถศีล พระสงฆ์จะได้แสดงพระธรรมเทศนา หรือ ธรรมสากัจฉา หรือ สนทนาธรรมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ในข้อธรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าเกิดประโยชน์แก่ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างยิ่ง

ความสำคัญ

จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนพระสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ

1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ

2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้

ความหมายของวันพระ

วันพระ คือวันที่มีการทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน นั่งสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ละเว้นความชั่ว ละเว้นอบายมุขต่างๆ ทำตัวให้มีประโยชน์ต่อสังคม ปล่อยนกปล่อยปลา ฟังธรรมเทศนา สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ รักษาศีล มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ มีพระสงฆ์คอยรับถวายสังฆทาน

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันพระ

สิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำในวันพระคือการถือศีลอุโบสถ (ศีล 8 ที่อาราธนาในวันพระเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน หรือ 3 วัน 3 คืน และไม่จำเป็นต้องอยู่วัด) อย่างเคร่งครัด. พุทธศาสนิกชนทั้งหลายพึงสวดมนต์ ทำสมาธิ ในเวลาว่างด้วย เพื่อการเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

____

The significance of Vesak Full Moon Day , Māgha Pūjā Day , Pavāranā day , Happy Vesak Day. ,  วันวิสาขบูชา  , วันวิสาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญวิสาขะ  , วันอาสาฬหบูชา , วันอาสาฬหบูชา ประวัติและความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา , สาระสำคัญของวันมาฆบูชา , วันมาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา , 'วันพระ' วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ , วันออกพรรษา-Day of going out of Vassa , วันเข้าพรรษา-Buddhist Lent Day Observances , วันอาสาฬหบูชา , วันนี้วันพระ“วันอัฏฐมีบูชา” , วันอัฏฐมีบูชา , วันมหาปวารณา , ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า , วิสาขบูชานุสติ , พระพุทธเจ้า“ประกาศอิสรภาพ”ให้แก่มวลมนุษย์ , ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสอะไรไว้กับชาวโลกบ้าง , เมื่อคืนพระจันทร์สวย ในวันวิสาขบูชา : พิจารณาธรรมชาติ , กฐิน



ที่มา : wikipedia

Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: