วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ความเป็นวิทยาศาสตร์ ของเรื่องอริยสัจ

ความเป็นวิทยาศาสตร์ ของเรื่องอริยสัจ

สิ่งทั้งปวงมีเหตุ มีปัจจัย เป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุและปัจจัย ดับเหตุดับปัจจัยได้ ก็คือดับผลของมันด้วย 

ถ้ามองกันใน "แง่ของตรรก" จะเห็นได้ว่า หลักอริยสัจแสดงรูปโครงทางตรรกชั้นเลิศ คือ การตั้งคำถามอันสมบูรณ์ขึ้นมาในกรณีหนึ่งๆ อันเป็นโครงแห่งคำถามที่ว่า ก.คืออะไร  ข.จากอะไร  ค.เพื่ออะไร  ง.โดยวิธีใด

ข้อนี้หมายความว่า เรื่องใดก็ตามที่เราตั้งใจจะรู้หรือจะกระทำ ถ้าหากตอบคำถามทั้ง ๔ ข้อนี้ได้หมดแล้ว ก็จะเป็นอันว่าหมดปัญหาทั้งในการรู้และการกระทำ หลักเกณฑ์อันนี้ใช้ได้ทั่วไปในทุกเรื่อง หรือทุกการงานในโลก รายละเอียดต่างๆ ของคำถามแต่ละข้อๆ นั้น อาจจะขยายออกไปได้โดยไม่จำกัด

ถ้าดูกันใน "แง่ของวิทยาศาสตร์" เรื่องอริยสัจทั้ง ๔ เรื่อง เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นกฎแห่งธรรมชาติอันสูงสุดของสากลจักรวาล โดยมีหลักว่า สิ่งทั้งปวงมีเหตุ มีปัจจัย เป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุและปัจจัย ดับเหตุดับปัจจัยได้ ก็คือดับผลของมันด้วย โดยการกระทำที่ถูกต้องตามกฎแห่งเหตุและบัจจัยเหล่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นเทพเจ้าหรือพระเป็นเจ้า และเป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้โดยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์แห่งยุคปัจจุบัน แม้จะเป็นเรื่องฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณ จนต้องเรียกว่าวิทยาศาสตร์ทางฝ่ายจิต ก็ไม่ขัดกันแต่ประการใดกับวิทยาศาสตร์ทางฝ่ายวัตถุ เพราะเป็นสัจจธรรมของธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ตามธรรมชาติ แต่เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ คือสามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง และเพียงพอ

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น (น.๑๗)

ธรรมโฆษณ์ l พุทธทาสภิกขุ

Credit: สโมสรธรรมทาน - co dhamma space





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: