อายาจิตภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยการเปลื้องตน
"เจ มุจฺเจ [1] เปจฺจ มุจฺเจ [2)], มุจฺจมาโน หิ พชฺฌติ;
น เหวํ ธีรา มุจฺจนฺติ, มุตฺติ พาลสฺส พนฺธนนฺติ ฯ
ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น, ท่านละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้, ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้ กลับจะติดหนักเข้า, เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตนด้วยอาการอย่างนี้ไม่, การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่องติดของคนพาล".
1) [มุญฺเจ (สี. สฺยา. ปี.)] 2) [มุญฺเจ (สี. สฺยา. ปี.)]
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภพลีกรรมอ้อนวอนเทวดาทั้งหลาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สเจ มุญฺเจ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะไปค้าขายได้ฆ่าสัตว์ทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งหลาย อ้อนวอนว่า „ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงความสำเร็จประโยชน์โดยไม่ขัดข้องมาแล้ว จักกระทำพลีกรรมแก่ท่านทั้งหลายอีก“ ดังนี้แล้วจึงพากันไป.
ในกาลนั้นพวกมนุษย์ได้ถึงความสำเร็จประโยชน์โดยไม่มีอันตรายมาแล้ว สำคัญว่า „ผลนี้เกิดด้วยอานิภาพของเทวดา“ จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากกระทำพลีกรรมเพื่อปลดเปลื้องการอ้อนวอน.
ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ในการอ้อนวอนนี้มีอยู่หรือ ?“
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล มีกุฎุมพีคนหนึ่งในบ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี ปฏิญญา การพลีกรรมแก่เทวดา ผู้สิงอยู่ที่ต้นไทรซึ่งตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้านแล้วกลับมาโดยไม่มีอันตราย จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากแล้วไปยังโคนต้นไทรด้วยตั้งใจว่า จักเปลื้องการอ้อนวอน รุกขเทวดายืนอยู่ที่ค่าคบของต้นไม้กล่าวคาถานี้ว่า :-
„ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่านละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้ กลับจะติดหนักเข้า, เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน ด้วยอาการอย่างนี้ไม่การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่องติดของคนพาล“.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ มุญฺเจ เปจฺจ มุญฺเจ ความว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถ้าท่านจะเปลื้องตน คือท่านปรารถนาจะเปลื้องตนท่านละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ คือจงพ้นโดยประการที่ติดพ้นโลกหน้า.
บทว่า มุจฺจมาโน หิ พชฺฌสิ ความว่า ก็ท่านเมื่อปลดเปลื้องโดยประการที่ปรารถนาเพื่อฆ่าสัตว์ปลดเปลื้องชื่อว่ายังติดพ้นด้วยกรรมอันลามก เพราะเหตุไร ? เพราะนักปราชญ์ทั้งหลาย หาได้เปลื้องคนด้วยอาการอย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ก็บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้นย่อมไม่ปลดเปลื้องตนด้วยคำมั่นสัญญาอย่างนี้เพราะเหตุไร ? เพราะการเปลื้องตนเห็นปานนี้ เป็นเหตุติดพ้นของคนพาลคือธรรมดาการเปลื้องคนเพราะกระทำปาณาติบาตนี้ ย่อมเป็นเหตุติดหนักของคนพาล. รุกขเทวดาแสดงธรรมด้วยประการดังกล่าวนี้.
ตั้งแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายงดเว้นจากกรรมคือปาณาติบาตเห็นปานนั้นพากันประพฤติธรรม ยังเทพนครให้เต็มแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้วทรงประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.
Credit: Palipage : Guide to Language - Pali
22. กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า , 21. กุรุงฺคมิคชาตกํ - ว่าด้วยกวางกุรุงคะ , 20. นฬปานชาตกํ - เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด , 19. อายาจิตภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยการเปลื้องตน , 18. มตกภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ , 17. มาลุตชาตกํ - ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม , 16. ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน , 15. ขราทิยชาตกํ - ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท , 14. วาตมิคชาตกํ - ว่าด้วยอำนาจของรส , 13. กณฺฑินชาตกํ - ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง , 12. นิคฺโรธมิคชาตกํ - ว่าด้วยการเลือกคบ , 11. ลกฺขณมิคชาตกํ - ว่าด้วยผู้มีศีล , 10. สุขวิหาริชาตกํ - ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข , 09. มฆเทวชาตกํ - ว่าด้วยเทวทูต , 08. คามณิชาตกํ - ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้ , 07. กฏฺฐหาริชาตกํ - ว่าด้วยพระเจ้ากัฏฐวาหนะ , 06. เทวธมฺมชาตกํ - ว่าด้วยธรรมของเทวดา , 05. ตณฺฑุลนาฬิชาตกํ - ว่าด้วยราคาข้าวสาร, 04. จูฬเสฏฺฐิชาตกํ - ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้ , 03. เสริววาณิชชาตกํ - ว่าด้วยเสรีววาณิช , 02. วณฺณุปถชาตกํ - ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน , 01. อปณฺณกชาตกํ - ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
0 comments: