บุตร ๓ จำพวก
อติชาตํ มนุชาตํ, ปุตฺตมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา;
อวชาตํ น อิจฺฉนฺติ, โย โหติ กุลฉินฺนโก.
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอติชาตบุตร และอนุชาตบุตร ไม่ปรารถนาอวชาตบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล.
(ธรรมนีติ ปัญญกถา ๕๑, ๑๗๕, มหารหนีติ ๑๐๓, กวิทัปปณนีติ ๒๘๑ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๒)
ศัพท์น่ารู้ :
อติชาตํ มนุชาตํ ตัดบทเป็น อติชาตํ (บุตรที่เกิดมาเจริญกว่า) + ม อาคม + อนุชาตํ (บุตรที่เกิดมาเสมอพ่อแม่, คล้อยตามพ่อแม่).
ปุตฺตมิจฺฉนฺติ ตัดบทเป็น ปุตฺตํ+อิจฺฉนฺติ
ปณฺฑิตา (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา ท.) ปณฺฑิต+โย
อวชาตํ (บุตรที่เกิดมาเลวกว่า, ต่ำต้อย) อวชาต+อํ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
อิจฺฉนฺติ (ย่อมปรารถนา, ต้องการ) อิสุ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)
โย (..ใด) ย+สิ สัพพนาม
โหติ (ย่อมเป็น) หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. พฤทธิ์ อู เป็น โอ § อญฺเญสุ จ. (รู ๔๓๔)
กุลฉินฺนโก (ผู้ตัดตระกูล, คนเฉือนวงส์สกุล) กุล+ฉินฺนก > กุลฉินฺนก+สิ, ในพระบาฬีเป็น กุลคนฺธโน
ขอนำคาถาที่เหลือในพระสูตรนี้ จากพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ตติยวรรค ปุตตสูตร (๒๕/๒๕๒) มาแสดงไว้เพื่อการศึกษา ดังนี้.
อติชาตํ อนุชาตํ, ปุตฺตมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา;
อวชาตํ น อิจฺฉนฺติ, โย โหติ กุลคนฺธโน ฯ
เอเต โข ปุตฺตา โลกสฺมึ, เย จ ภวนฺติ อุปาสกา;
สทฺธาสีเลน สมฺปนฺนา, วทญฺญู วีตมจฺฉรา;
จนฺโท อพฺภฆนา มุตฺโต, ปริสาสุ วิโรจเร ฯ
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอติชาตบุตร และอนุชาตบุตร ไม่ปรารถนาอวชาตบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล.
ส่วนบุตรเหล่าใดเป็นอุบาสก บุตรเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นบุตรในโลก บุตรเหล่านั้นมีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ (โอบอ้อมอารี) รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมรุ่งเรืองในบริษัททั้งหลาย เปรียบเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
บัณฑิตย่อมต้องการอติชาตบุตร (ลูกที่ดีกว่าตน) และอนุชาตบุตร (ลูกที่เสมอตน) แต่อวชาตบุตร (ลูกที่ต่ำเลว) เป็นผู้ตัดสกุล ไม่ต้องการเลย.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
พ่อแม่ที่ฉลาด ย่อมปรารถนาลูก ที่ดีกว่าตน หรือไม่ก็เสมอกับตน แต่ไม่ปรารถนาลูกที่ต่ำทราม ทำลายตระกูลเลย.
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇
57. ผู้มิใช่บัณฑิต, 56. เห็นอย่างบัณฑิต, 55. ความลับของบัณฑิต, 54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ, 53. สภาที่ไม่เป็นสภา, 52. บัณฑิต ๓ ประเภท, 51. บุตร ๓ จำพวก, 50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม, 49. ดูฟังอย่างปราชญ์, 48. วิถีของนักปราชญ์, 47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา, 46. บัณฑิตกับคนพาล, 45. พูดเล่นอาจเป็นจริง, 44. คบคนดีย่อมมีผล, 43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี, 42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้, 41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง, 40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น, 39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ, 38. ลักษณะของบัณฑิต, 37. สรีระกับคุณความดี, 36. ควรฝึกตนเองก่อน, 35. คำชมที่ควรชัง, 34. พระราชากับนักปราชญ์, 33. รู้อย่างบัณฑิต, 32. ประโยชน์ ๒ อย่าง, 31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง, 30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง, 29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย, 28. ฟังเป็นเห็นสุข, คาถากาสลัก จะ ภะ กะ สะ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้, 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
ภาพ : นักรบตะวันออก
หลวงพ่อพระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร (อลังการโบสถ์ริมน้ำบางปะกง) จ.ฉะเชิงเทรา
วัดโสธรวรารามวรวิหาร (อลังการโบสถ์ริมน้ำบางปะกง) อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงส์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวเมืองเคารพนับถือ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ หายเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง
__
ไม่ต้องหนีทิ้งโลกให้อยู่ในโลกด้วยชัยชนะ
0 comments: