วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

แกล้งเป็นจะเห็นธรรม

แกล้งเป็นจะเห็นธรรม

จกฺขุมาสฺส  ยถา  อนฺโธ,    โสตวา  พธิโร  ยถา;
ปญฺญาวาปิ  ยถา  มูโค,    พลวา  ทุพฺพโลริว;
อถ  อตฺเถ  สมุปฺปนฺเน,    สเยยฺย  มตสายิตํ.

มีตาก็พึงเป็นเหมือนคนบอด,   มีหูก็พึงเป็นเหมือนคนหนวก;
มีปัญญาก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้,  มีกำลังก็พึงเป็นเหมือนคนทุรพล;
แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น,  ถึงนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๕๐, มหารหนีติ ๖๑, กวิทัปปณนีติ ๑๑๓, ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๖)

ศัพท์น่ารู้ :

จกฺขุมาสฺส ตัดบทเป็น จกฺขุมา+อสฺส (คนมีตา+พึงเป็น), = จกฺขุมนฺตุ+สิ วิ. จกฺขุ อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา (ดวงตาของเขา มีอยู่ เหตุนั้น เขา ชือว่า ผู้มีดวงตา) มาจาก จกฺขุ+มนฺตุ > จกฺขุมนฺตุ+สิ เป็นตทัสสัตถตัทธิต, ส่วนเ อสฺส เป็นกิริยาอาขยาต มาจาก √อส+อ+เอยฺย แปลง อส กับที่สุดธาตุเป็น สฺส ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)

ยถา (เหมือน, ดุจ, ดัง) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ

อนฺโธ (คนตาบอด) อนฺธ+สิ

โสตวา (คนมีหู) โสตวนฺตุ+สิ

พธิโร (คนหูหนวก) พธิร+สิ

ปญฺญวาสฺส ตัดบทเป็น ปญฺญวา+อสฺส (ผู้มีปัญญา+พึงเป็น), = ปญฺญนฺตุ+สิ วิ. ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา (ปัญญาของเขา มีอยู่ เหตุนั้น เขา ชือว่า ผู้มีปัญญา) มาจาก ปญฺญา+วนฺตุ> ปญฺญวนฺตุ+สิ เป็นตทัสสัตถตัทธิต

มูโค (คนใบ้) มูค+สิ,

พลวา (ผู้มีกำลัง) พลวนฺตุ+สิ วิ. พลํ อสฺส อตฺถีติ พลวา (กำลังของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า พลวา) พล+วนฺตุ > พลวนฺตุ+สิ = พลวา.

ทุพฺพโลริว ตัดบทเป็น ทุพฺพโล+ร อาคม+อิว (เหมือนคนทุรพล, ดุจคนไม่มีแรง) ทุ+พล > ทุพฺพล+สิ, ส่วน อิว เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ

อถ (แต่, อนึง, ลำดับนั้น) เป็นนิบาตทำบทให้เต็ม หรือใช้ในอรรถการถามเป็นต้น

อตฺเถ (เมื่ออรรถ, ประโยชน์, เนื่อความ, ความต้องการ) อตฺถ+สฺมึ

สมุปฺปนฺเน (เกิดขึ้นแล้ว, ถึงพร้อมแล้ว) สํ+อุ+ปท+ต > สมุปฺปนฺน+สฺมึ,

สเยยฺย (พึงนอน) สิ+อ+เอถ วุทธิ อิ เป็น เอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ จ. (๔๓๔), แปลง เอ เป็น อย ด้วยสูตรว่า เอ อย. (รู ๔๙๑) ในพระบาฬีเป็น สเยถ.

มตสายิตํ (การนอนในเวลาใกล้ตาย, นอนรอความตาย) มตสายิต+อํ ลงทุติยาวิภัตติในอรรถกาลสัตตมีได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตติยาสตฺตมีนญฺจ. (รู ๒๙๐), ในพระบาฬีเป็น มตสายิกํ

ในอรรถกถาท่านอธิบายว่า ถ้าเรื่องที่ไม่มีประโยชน์เกิดขึ้น ให้แกล้งนอนเหมือนคนใกล้ตายได้ แต่ถ้าเรื่องที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้น ต้องรีบทำ รีบจัดการทันที ไม่ทำไม่ได้.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

มีตาก็เหมือนอย่างตาบอด  มีหูก็เหมือนอย่างหูหนวก

มีปัญญาก็เหมือนอย่างคนใบ้  มีกำลังก็เหมือนหนึ่งหมดกำลัง

ก็เมื่อประโยชน์เกิดประจวบขึ้นแล้ว  ก็นอนแอ้งแม้งเหมือนคนตาย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

มีตาก็เหมือนตาบอด   มีหูก็เหมือนหูหนวก  มีปัญญาก็เหมือนคนใบ้  มีกำลังวังชาก็เหมือนหมดกำลัง  เมื่อมีธุระเกิดขึ้น ก็ต้องนอนเหมือนตาย.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

4. สุตกถา - แถลงความรู้ . ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

วัดห้วยพระ จ.นครปฐม

วัดห้วยพระ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม วัดห้วยพระถือเป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 15 ของจังหวัดนครปฐม นิกายมหานิกาย  มีพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับมาจากอินเดียประดิษฐานอยู่ภายในวัด มีการปฏิบัติธรรมและบวชชีพราหมณ์ทุกๆวันสำคัญ และวันหยุดนักขัตฤกษ์





Previous Post
Next Post

0 comments: