วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ดูฟังอย่างปราชญ์

ดูฟังอย่างปราชญ์

สพฺพํ  สุณาติ  โสเตน,    สพฺพํ  ปสฺสติ  จกฺขุนา;
น  จ  ทิฎฺฐํ  สุตํ  ธีโร,    สพฺพิจฺฉิตุมรหติ.

นักปราชญ์ย่อมฟังเสียงทุกเสียงด้วยหู,  ย่อมเห็นรูปทุกรูปด้วยตา,
แต่ท่านจะปรารถนารูปที่ได้เห็น  และเสียงที่ได้ฟังหมดทุกอย่าง หามิได้.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๙, มหารหนีติ ๖๐, กวิทัปปณนีติ ๑๖๘ ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๖)

ศัพท์น่ารู้ :

สพฺพํ (ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น) สพฺพ+อํ ส.

สุณาติ (ฟัง, สดับ) √สุ+ณา+ติ สฺวาทิ. กัตตุ.

โสเตน (หู, โสต) โสต+นา

ปสฺสติ (ดู, เห็น) √ทิส+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง  ทิสสฺส ปสฺส-ทิสฺส-ทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)

จกฺขุนา (ตา, จักษุ) จกฺขุ+นา

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

จ (ด้วย, และ) นิบาตบอกรวมบท-ปทสมุจจยะ

ทิฎฺฐํ (สิ่งที่เห็น, รูป) ทิฏฺฐ+อํ

สุตํ (สิ่งที่ฟัง, เสียง) สุต+อํ

ธีโร (ธีรชน, นักปราชญ์, คนมีปัญญา) ธีร+สิ

สพฺพิจฺฉิตุมรหติ: ตัดบทเป็น สพฺพํ+อิจฺฉิตุํ+อรหติ (ควรเพื่ออันปรารถนาซึ่งสิ่งทั้งปวง) อิจฺฉตุํ (เพื่ออันปรารถนา, เพื่ออันต้องการ) √อิสุ+อิ+ตุํ แปลงที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง  อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (๔๗๖); อรหติ (สมควร) √อรห+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เสียงทุกอย่างฟังได้ด้วยหู   รูปทุกอย่างเห็นได้ด้วยตา  แต่สิ่งที่ได้เห็นได้ยินแล้ว นักปราชญ์   ย่อมไม่ต้องการทุกอย่างไป.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เสียงทุกเสียงก็ฟังได้ด้วยหู  รูปทุกรูปก็เห็นได้ด้วยตา  แต่สิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้วนั้น   นักปราชญ์ไม่ต้องการไปทุกอย่างดอกนะ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali 

๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ,  ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

วัดอโศการาม  ตั้งอยู่ที่  ตำบลท้ายบ้าน  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรปราการ  มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรมของพระธุตังคเจดีย์สีขาวขนาดใหญ่ ที่มีความงดงามมาก


Previous Post
Next Post

0 comments: