วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

บัณฑิตธรรม ๓ ประการ

บัณฑิตธรรม ๓ ประการ

นาลพฺภมติปตฺเถนฺติ,    นฎฺฐมฺปิ  น  จ  โสจเร;
วิปฺปตฺยญฺจ  น  มุยฺหนฺติ,    เย  นรา  เตว  ปณฺฑิตา.

ชนเหล่าใด ไม่ปรารถเกินถึงสิ่งที่ไม่ควรได้ ๑  ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ฉิบหายไปแล้ว ๑ และ  ไม่หลงมัวเมาถึงสิ่งที่วิบัติพลัดพราก ๑.  ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นบัณฑิตโดยแท้.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๙, มหารหนีติ ๓๕)

ศัพท์น่ารู้ :

นาลพฺภมติปตฺเถนฺติ ตัดบทเป็น น+อลพฺภํ+อติปตฺเถนฺติ (ย่อมไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรได้), น+ลพฺภ > อลพฺภ+อํ = อลพฺภํ แปลว่า สิ่งที่ไม่ควรได้, อติ+√ปตฺถ+เณ+อนฺติ = อติปตฺเถนฺติ แปลว่า ปรารถนายิ่ง, อยากจนเกินไป, จุราทคณะ กัตตุวาจก

นฎฺฐมฺปิ ตัดบทเป็น นฏฺฐํ+อปิ (แม้สิงที่ฉิบหายแล้ว) นฏฺฐ+อํ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเส

จ (ด้วย, และ) นิบาตรวบรวมวากยะ

โสจเร (เศร้าโศก, ซึมเซา) √สุจ+เณ+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.

วิปฺปตฺยญฺจ ตัดบทเป็น วิปฺปตฺตึ+จ

น (ไม่, หามิได้)

มุยฺหนฺติ (หลง, ลืมสติ) √มุห+ย+อนฺติ ทิวาทิ.​ กัตตุ.

เย (เหล่าใด) ย+โย สัพพนาม

นรา (ชน,​ คน ท.) นร+โย

เตว ตัดบทเป็น เต+เอว

ปณฺฑิตา (เหล่าบัณฑิต, ผู้มีปัญญา ท.) ปณฺฑิต+โย

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

สิ่งที่ไม่ควรได้ ก็ไม่ต้องปรารถนา   แม้สิ่งที่ฉิบหายไป ก็ไม่ต้องเศร้าโศก   แลได้สมบัติที่ควรดูดดื่มก็ไม่มัวเมา  คนชะนิดนี้ เป็นบัณฑิตโดยแท้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ไม่ควรปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรได้  ไม่ควรเศร้าโศกถึงสิ่งที่หายไปแล้ว  ถึงคราววิบัติก็ไม่ปล่อยตัว  คนชนิดนี้ท่านว่าเป็นบัณฑิตแท้.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  , 4. สุตกถา - แถลงความรู้  , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

ภาพ : "วัดถํ้าเขาปรางค์" จ.ลพบุรี

มองเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่เด่นสง่าท่ามกลางภูเขา เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขึ้นไปชมวิวบริเวณลานรอบฐานองค์พระได้ พร้อมสักการะเจดีย์เก้ายอด หรือ นวโลกุตระ





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: