วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

คำไขความของสัมมาวาจาสี่

คำไขความของสัมมาวาจาสี่

(อมุสาวาท)

เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่งคงในคำพูด มีคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก

(อปิสุณวาท)

เธอนั้น ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน

(อผรุสวาท)

เธอนั้น ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่

(อสัมผัปปลาปวาท)

เธอนั้น ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา

- สี. ที. ๙๘๓/๑๐๓.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย (น.๑๐๖๖) ,  ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส

Credit: สโมสรธรรมทาน - co dhamma space

ภาพ : "เขาวัง" จ.เพชรบุรี

หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี สัญลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีเมื่อเข้าสู่ตัวเมืองเพชร เป็นพระราชวังตั้งอยู่บนยอดเขาสูงสมัยรัชกาลที่ 4 มีทั้งพระที่นั่ง พระตําหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆ มากมาย




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: