วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ประโยชน์ ๒ อย่าง

ประโยชน์ ๒ อย่าง

ทิฏฺเฐ  ธมฺเม  จ  โย  อตฺโถ,   โย  จตฺโถ  สมฺปรายิโก;
อตฺถาภิสมยา  ธีโร,    ปณฺฑิโตติ  ปวุจฺจติ.

เพราะบรรลุถึงประโยชน์ ๒ อย่าง คือ  ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑  ประโยชน์ในสัมปรายภพ ๑  ท่านผู้มีปัญญา เขาเรียกว่าเป็นบัณฑิต.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๒, นรทักขทีปนี ๗๘, องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๓, ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๑)

ศัพท์น่ารู้ :

ทิฏฺเฐ ธมฺเม (ในธรรมอันตนเห็นแล้ว, ประโยชน์ในปัจจุบัน) เป็นศัพท์ที่นิยมใช้คู่กัน หมายถึง ปัจจุบัน, ชาตินี้. √ทิส+ต > ทิฏฺฐ+สฺมึ = ทิฏฺเฐ, √ธร+รมฺม > ธมฺม+สฺมึ = ธมฺเม.

จ (ด้วย, และ) นิบาต

โย (ใด) ย+สิ สัพพนาม

อตฺโถ (เนื้อความ, ประโยชน์, อรรถ) อตฺถ+สิ

โย (ใด) ย+สิ สัพพนาม

จตฺโถ ตัดบทเป็น จ+อตฺโถ

สมฺปรายิโก (ที่เป็นไปในเบื้องหน้า, สัมปรายภพ, ชาติหน้า) สมฺปรายิก+สิ

อตฺถาภิสมยา (เพราะบรรลุประโยชน์, เพราะเข้าใจประโยชน์) อตฺถ+อภิสมย > อตฺถาภิสมย+สฺมา

ธีโร (ผู้มีปัญญา, ธีรชน, นักปราชญ์) ธีร+สิ

ปณฺฑิโตติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อิติ (ว่าบัณฑิต, ว่าผู้ฉลาด, ว่าผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ, อิติ ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในอรรถ...

ปวุจฺจติ (ถูกเรียก, ถูกขนานนาม, ถูกกล่าวขาน) ป+√วจ+ย+เต ภูวาทิ. กัมม.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ธีรชนท่านว่าเป็นบัณฑิต เพราะเข้าใจ  ประโยชน์ทั้งสอง คือประโยชน์ในปัจจุบัน  แลประโยชน์ในเบื้องหน้า.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ท่านที่รู้ประโยชน์ทั้งสอง คือ  ประโยชน์โลกนี้ ๑  ประโยชนืโลกหน้า ๑  เป็นคนมีปัญญา ท่านว่าเป็นบัณฑิต.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

4. สุตกถา - แถลงความรู้ , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 👇   

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ 

File Photo:  Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple









Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: