วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ลักษณะของบัณฑิต

ลักษณะของบัณฑิต

อตฺถํ  มหนฺตมาปชฺชํ,     วิชฺชํ  สมฺปตฺติเมว  จ;
วิจเรยฺยามานถทฺโธ,      ปณฺฑิโต  โส  ปวุจฺจติ.

ผู้ใดประสบคุณสมบัติอันมากมาย คือ มีวิชาความรู้ดี และทรัพย์สมบัติ  ประพฤติตนไม่ถือตัวไม่แข็งกระด้าง,   ผู้นั้นท่านเรียกว่าเป็นบัณฑิต.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๘, มหารหนีติ ๓๔, กวิทัปปณนีติ ๑๑๐)

ศัพท์น่ารู้ :

อตฺถํ (อรรถ, เนื้อความ, ประโยชน์, ความเจริญ, ผล, สมบัติ) อตฺถ+อํ

มหนฺตมาปชฺช ตัดบทเป็น มหนฺตํ+อาปชฺช (ที่ยิ่งใหญ่+ถึงแล้ว, บรรลุถึง)

มหนฺตํ = มหนฺต+อํ, อาปชฺช= อา+√ปท+ตฺวา+สิ แปลงตุนาทิปัจจัยเป็น ชฺช และลบที่สุดธาตุ ได้บ้าง ด้วยสูตรวา มหทเภหิ มฺมยฺหชฺชพฺภทฺธา จ. (รู ๖๔๕), เพราะ ตุนาทิปัจจัยเป็นนิบาตให้ลบ สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า สพฺพามาวุโสปสคฺคนิปาตาทีหิ จ. (รู ๒๘๒)

วิชฺชํ (วิชา, ความรู้) วิชฺช+อํ

สมฺปตฺติเมว ตัดบทเป็น สมฺปตฺตึ+เอว (สมบัติ+นั่นเทียว)

จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวมเป็นต้น

จเรยฺยามานถทฺโธ ตัดบทเป็น จเรยฺย+อมานถทฺโธ (ประพฤติ+ผู้ไม่ถือตัวและไม่กระด้าง, ผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยมานะ), จเรยฺย (พึงประพฤติ, เที่ยวไป, จรไป) √จร+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ส่วน อมานถทฺโธ มาจาก มาน+ถทฺธ > มานถทฺธ, น+มานถทฺธ > อมานถทฺธ+สิ = อมานถทฺโธ (คนไม่มีมานะและความหยิ่ง).

โย (ใด) = โย ปุคฺคโล (บุคคลใด) ย+สิ เป็นสัพพนาม

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, คนฉลาด) ปณฺฑิต+สิ

โส (นั้น) = โส ปุคฺคโล (บุคคลนั้น) ต+สิ เป็นสัพพนาม

ปวุจฺจติ (อันเขาย่อมกล่าว, ย่อมถูกกล่าว, ถูกเรียก) ป+√วจ+ย+เต ภูวาทิ. กัมม.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้บรรลุประโยชน์ใหญ่  คือวิชาแลทั้งสมบัติ  เป็นผู้ไม่มีความเย่อหยิ่งเทียวไป  ผู้นั้นชื่อว่าบัณฑิต.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ผู้ที่ตั้งอยู่ในคุณสมบัติพิเศษ  คือมีวิทยาคุณและมีทรัพย์สมบัติ   เป็นคนไม่เย่อหยิ่งกระด้างหยาบคาย  ท่านว่าผู้นั้นเป็นบัณฑิต.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali  

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ




Previous Post
Next Post

0 comments: