วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้

นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้

สุมหนฺตานิ  สตฺถานิ,     ธารยนฺตา  พหุสฺสุตา;
เฉทาโย  สํสยานนฺตุ,     กฺลิสฺสนฺติ  โลภโมหิตา.

ผู้คงแก่เรียน ทรงจำตำราได้มาก,   ทั้งตัดความสงสัยทั้งหลายได้แล้ว,
หากถูกโลภะกลุ้มรุมจิตใจ   ย่อมเศร้าหมองเสียใจได้เช่นกัน.

(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๔๒, มหารหนีติ ๓๘, กวิทัปปณนีติ ๑๖๖)

ศัพท์น่ารู้ :

สุมหนฺตานิ (มากมาย, เยอะแยะ) สุมหนฺต+โย

สุตฺตานิ (สตฺถานิ) : (สูตร, ตำรา, ความรู้ ท.) สุตฺต+โย

ธารยนฺตา (ทรงอยู่, ทรงจำได้) √ธร+ณย+อนฺต > ธารยนฺต+โย

พหุสฺสุตา (ผู้มีการสดับมาก, พหูสูตร, ผู้คงแก่เรียน) พหุ+สุต > พหุสฺสุต+โย

เฉทาโย เป็นศัพท์ที่อธิบายไม่ถูกครับ ถ้าเป็น เฉทโก, เฉทกา; เฉตฺตา, เฉตฺตาโร ก็พอจะอธิบายตามหลักไวยากรณ์ได้บ้าง ขออนุญาตแปลว่า „ผู้ตัด, ผู้ทำลาย“ ไปพลางๆ ก่อนนะครับ และขอฝากท่านผู้รู้ทั้งหลายร่วมด้วยช่วยกันพิจารณาด้วยครับ.

สํสยานนฺตุ: ตัดบทเป็น สํสยานํ+ตุ (ความสงสัย+ส่วน, ก็, แต่) สํสย+นํ, ตุ เป็นนิบาตบท

กฺลิสฺสนฺติ (เศร้าหมอง, หม่นหมอง) √กฺลิส (√กิลิส) +ย+อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ.

โลภโมหิตา: (ผู้มีจิตหลงเพราะความโลภ, ผู้ถูกความโลภครอบงำจิต) โลภ+โมหิต > โลภโมหิต+โย

ส่วนในกวิทัปปณนีติ มีข้อความคล้ายกันดังนี้

สุมหนฺตานิ  สุตฺตานิ,    ธารยนฺตา  พหุสฺสุตา;

เฉตฺตาโร  สํสยานญฺจ,    กลึ  ยนฺติ  โลภโมหิตาฯ

ผู้คงแก่เรียน ทรงจำตำราได้มากมาย,  และยังตัดความสงสัยได้เยอะแยะ

เมื่อยังถูกโลภะและโมหะครอบงำอยู่,  ก็ย่อมถึงความระทมทุกข์(ได้เช่นกัน).

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้มีความรู้มาก จำทรงคัมภีร์อันใหญ่ยิ่ง  ตัดเสียได้ซึ่งความสงสัยทั้งหลาย ถูกความโลภกำบังให้มืดหน้า ย่อมเศร้าหมองได้.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้มีความรู้ดี ทรงจำคัมภีร์อันยิ่งใหญ่ได้ ตัดความสงสงสัยได้สิ้น  แต่เมื่อถูกความโลภเปิดตา  ก็ทำให้เศร้าหมองได้.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

57. ผู้มิใช่บัณฑิต56. เห็นอย่างบัณฑิต55. ความลับของบัณฑิต54. ชนที่ไม่ควรถือโทษ53. สภาที่ไม่เป็นสภา52. บัณฑิต ๓ ประเภท,  51. บุตร ๓ จำพวก50. แกล้งเป็นจะเห็นธรรม49. ดูฟังอย่างปราชญ์48. วิถีของนักปราชญ์47. ผู้นี้เป็นบัณฑิตได้ฤา46. บัณฑิตกับคนพาล45. พูดเล่นอาจเป็นจริง44. คบคนดีย่อมมีผล43. คนชอบพูดแต่ส่วนดี42. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้41. ไม่มีใครสมบูรณ์ทุกอย่าง40. สิ่งบัณฑิตไม่ควรดูหมิ่น39. บัณฑิตธรรม ๓ ประการ38. ลักษณะของบัณฑิต,  37. สรีระกับคุณความดี36. ควรฝึกตนเองก่อน35. คำชมที่ควรชัง34. พระราชากับนักปราชญ์33. รู้อย่างบัณฑิต32.  ประโยชน์ ๒ อย่าง31. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง30. สิ่งที่ควรละเว้น ๑๑ อย่าง29. เมื่อบัณฑิตเห็นภัย28. ฟังเป็นเห็นสุขคาถากาสลัก  จะ ภะ กะ สะ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , ๓. ปัญญากถา - แถลงปัญญา  , 4. สุตกถา - แถลงความรู้  , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

ภาพ :  พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพมหานคร




Previous Post
Next Post

0 comments: