วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน

ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน

"มิคํ  ติปลฺลตฺถ [1]  มเนกมายํ,     
อฏฺฐกฺขุรํ  อฑฺฒรตฺตาปปายึ [2];
เอเกน  โสเตน  ฉมาสฺสสนฺโต,    
ฉหิ  กลาหิติโภติ [3]  ภาคิเนยฺโยติ ฯ

ฉันยังเนื้อหลานชายผู้มี ๘ กีบ นอนโดยอาการ ๓ ท่า มีเล่ห์กลมารยา
หลายอย่าง ดื่มกินน้ำในเวลาเที่ยงคืน ให้เล่าเรียนมายาของเนื้อดีแล้ว,
ดูกรน้องหญิง เนื้อหลานชายกลั้นลมหายใจไว้ได้ โดยช่องนาสิก
ข้างหนึ่งแนบติดอยู่กับพื้น จะทำเล่ห์กลลวงนายพรานด้วยอุบาย ๖ ประการ"

1) [ติปลฺลตฺต (ก.)]  2) [อฑฺฒรตฺตาวปายึ (สี. ปี.)]  3) [กลาหติโภติ (สี. สฺยา. ปี.)]

ติปัลลัตถมิคชาดกอรรถกถา

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพทริการาม นครโกสัมพีทรงปรารภพระราหุลเถระ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า  มิคํ  ติปลฺลตฺถํ  ดังนี้. 

ความพิศดารว่า กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยเมืองอาฬวีประทับอยู่ในอัคคาฬวเจดีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุและภิกษุณี จำนวน มาก ไปวิหารเพื่อฟังธรรม. ตอนกลางวัน มีการฟังธรรม ก็เมื่อกาลเวลาล่วงไป อุบาสิกาและภิกษุณีทั้งหลายไม่ไป. มีแต่พวกภิกษุและอุบาสกทั้งหลายตั้งแต่นั้น จึงเกิดมีการฟังธรรมตอนกลางคืน ในเวลาเสร็จสิ้นการฟังธรรม ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระพากันไปยังที่อยู่ของคนๆ ภิกษุหนุ่มกับพวกอุบาสกนอนที่อุปัฏฐานศาลาคือ โรงฉัน. เมื่อพวกภิกษุหนุ่มและพวกอุบาสกเหล่านั้นเข้าถึงความหลับ บางคนนอนกรนเสียงครืด ๆ นอนกัดฟัน บางคนนอนครู่เดียวแล้วลุกขึ้น. พวกอุบาสก เห็นประการอันแปลกของภิกษุหนุ่ม จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. 

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า „ก็ภิกษุใดนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์“(ปาจิ. ๔๙) ดังนี้แล้วได้เสด็จไปยังนครโกสัมพี. 

ในข้อที่ทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านราหุลว่า „อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว บัดนี้ท่านจงรู้ที่อยู่ของตน“. 

ก็เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์ท่านราหุลนั้น ผู้มายังที่อยู่ของตน ๆ เป็นอย่างดีเพราะอาศัยความเคารพื้นพระผู้มีพระภาคเจ้าและความที่ท่านราหุลนั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาได้ลาดเตียงเล็ก ให้จีวรเพื่อหนุนศีรษะ. แค่วันนั้นแม้ที่อยู่ก็ไม่ได้ให้แล้วเพราะกลัวต่อสิกขาบท. 

ฝ่ายพระภัตรราหุลก็ไม่ไปยังสำนักของพระทศพล ด้วยคิดว่า เป็นพระบิดาของเรา หรือของพระธรรมเสนาบดีด้วยคิดว่า เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่า เป็นอาจารย์ของเรา หรือของท่านพระอานนท์ด้วยคิดว่า เป็นอาของเราได้เข้าไปยังเวจกุฎีสำหรับถ่ายของพระทศพล ประดุจเจ้าไปยังวิมานของพรหม สำเร็จการอยู่แล้ว. ก็ประตูกุฎีสำหรับใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปิดสนิทนั้น กระทำการประพรมด้วยธูปหอม มีพวงของหอมและพวงดอกไม้ห้อย ตามประทีปตลอดคืนยังรุ่ง. 

ก็พระภัทรราหุลอาศัยสมบัติน้องกุฎีนั้น จึงเขาไปอยู่ในกุฎีนั้น. อนึ่งเพราะภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่และเพราะความเป็นผู่ใคร่ต่อการศึกษาโดยเคารพในโอวาท จึงเข้าไปอยู่ในกฎีนั้น ก็ในระหว่าง ๆ ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้น มาแต่ไกล เพื่อต้องการจะทดลองท่านผู้มีอายุนั้น จึงทิ้งกำไม้กวาดหรือภาชนะสำหรับทั้งหยากเยื่อไว้ข้างใน. 

เมื่อท่านผู้มีอายุนั้นมาถึง จึงกล่าวว่า „อาวุโส ใครทิ้งสิ่งนี้“. ในการการท่านนี้ เมื่อภิกษุบางพวกกล่าวว่า „ท่านราหุสมาทางนี้“. แต่ท่านราหุลนั้นไม่กล่าวว่า „ท่านผู้เจริญผมไม่รู้เรื่องนี้“ กลับเก็บงำสิ่งนั้นแล้วขอขมาว่า „ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลาย จงอดโทษแก่กระผม“ แล้วจึงไป. ท่านราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างนี้. ท่านราหุลนั้นอาศัยความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษานั้นนั่นเอง จึงเข้าไปอยู่ในกุฎีนั้น. 

ครั้นเวลาก่อนอรุณทีเดียว พระศาสดาประทับยืนที่ประตูเวจกุฎีแล้วทรงพระกาสะ (ไอ) ขึ้น ส่วนท่านผู้มีอายุนั้นก็ไอขึ้น พระศาสดาตรัสถามว่า „ใครนั่น ?“ ท่านพระราหุลกราบทูลว่า „ข้าพระองค์ราหุล“, แล้วออกมาถวายบังคม, พระศาสดาตรัสถามว่า „ราหุล เพราะเหตุไรเธอจึงนอนที่นี้ ?“ พระราหุลกราบทูลว่า „เพราะไม่มีที่อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่า เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลาย การทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์, บัดนี้ไม่ให้ที่อยู่เพราะกลัวคนต้องอาบัติ, ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ที่เป็นที่ไม่เบียดเสียดผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ จึงนอนในที่นี้“. 

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดธรรมสังเวชขึ้นว่า „เบื้องต้น ภิกษุทั้งหลายสละราหุลได้อย่างนี้ (ต่อไป) ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร?“.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกัน แต่เช้าตรู่แล้วตรัสถามพระธรรมเสนาบดีว่า „สารีบุตร ก็เธอรู้ไหมว่า วันนี้ราหุลอยู่ที่ไหน ?“ พระสารีบุตรกราบทูลว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า“.

พระศาสดาตรัสว่า „สารีบุตร วันนี้ราหุลอยู่ที่เวจกุฎี ดูก่อนสารีบุตร ท่านทั้งหลายเมื่อละราหุลได้อย่างนี้ (ต่อไปภายหน้า) ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายเหล่าอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร? แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้บวชในพระศาสนานี้จักเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง, บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไปท่านทั้งหลายจงให้อนุปสัมปันทั้งหลายอยู่ในสำนักของกองตนวันหนึ่ง สองวัน, ในวันที่สามรู้ที่เป็นที่อยู่ของอนุปสัมปันเหล่านั้นแล้วจงให้อยู่ภายนอก“ ดังนี้แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทอีกทรงกระทำให้เป็นอนุบัญญัติข้อนี้. 

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภาแล้วกล่าวคุณของพระราหุลว่า „ดูเอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ราหุลนี้ใคร่ต่อการศึกษาเป็นกำหนด, ชื่อว่าผู้ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ของท่าน, ก็ไม่โต้ตอบแม้ภิกษุรูปหนึ่งว่า เราเป็นโอรสของพระทศพลท่านทั้งหลายเป็นใคร พวกท่านนั่นแหละจงออกไป ดังนี้แล้วได้สำเร็จการอยู่ในเวจกุฎี“. 

เมื่อภิกษุเหล่านั้นพากันกล่าวอยู่อย่างนี้ พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภาประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้วตรัสว่า „ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนึ่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ?“. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า „ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันด้วยสิกขากามกถาว่า ด้วยควานใคร่ต่อการศึกษาของพระราหุล มิใช่ด้วยเรื่องอื่นพระเจ้าข้า“. 

พระศาสดาตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลายราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ในกาลก่อน แม้บังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน“, แล้วทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่งครองราชสมบัติอยู่ในพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น  พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดมฤค อันหมู่มฤคแวดล้อมอยู่ในบ่า. 

ครั้งนั้น แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวของพระโพธิสัตว์นั้นนำบุตรน้อยของตนเข้าไปแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พี่ท่านจงให้หลานของท่านนี้ ศึกษามารยาของเนื้อ.

พระโพธิสัตว์รับคำแล้วกล่าวว่า „ดูก่อนพ่อ เจ้าจงไป ในเวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาศึกษา“. เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ล่วงเลยเวลาที่ลุงบอกเข้าไปหาลุงนั้นแล้วศึกษามารยาของเนื้อ. วันหนึ่งเนื้อนั้น เที่ยวไปในป่า ติดบ่วงจึงร้องบอกให้รู้ว่า คิดบ่วง หมู่เนื้อพากันหนีไปบอกแก่มารดาของเนื้อนั้นว่า บุตรของท่านติดบ่วง. 

แม่เนื้อนั้นจึงไปยังสำนักของพี่ชายแล้วถามว่า „พี่ท่านให้หลานศึกษามารยาของเนื้อแล้วหรือ ?“ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า „เจ้าอย่ารังเกียจกรรมอันลามกอะไร ๆ ของบุตร เราให้บุตรของเจ้านั้นศึกษามารยาของเนื้ออย่างดีแล้ว, บัดนี้ บุตรของเจ้านั้นละทิ้งบ่วงนั้นแล้วหนีไป จักกลับมา“, แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :- 

„ดูก่อนน้องหญิง ฉันยังเนื้อหลานผู้ชายผู้มี ๘ กีบนอนโดยอาการ ๓ ท่า มีเล่ห์กลมารยาหลายอย่าง ดื่ม กินน้ำในเวลาเที่ยงคืน ให้เล่าเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชาย กลั้นลมหายใจได้ โดย ช่องนาสิกข้างหนึ่งแนบติดอยู่กับพื้นดิน ทำเล่ห์กล ลวงนายพราน ด้วยอุบาย ๖ ประการฉะนั้น“. 

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  มิคํ  ได้แก่ เนื้อผู้เป็นหลาน.   บทว่า  ติปลฺลตฺถํ  ความว่า การนอน เรียกว่า ปัลลัตถะชื่อว่าผู้มีการนอน ๓ ท่าเพราะมีการนอนโดยอาการ ๓ อย่างคือ โดยข้างทั้งสองและโดยอาการอย่างโคนอนตรงอีกอย่างหนึ่ง เพราะมีการนอน ๓ ท่า. ซึ่งเนื้อนั้นผู้มีการนอน ๓ ท่า.   บทว่า  อเนกมายํ  ได้แก่ มีมารยามาก คือมีการลวงมาก. 

บทว่า  อฏฺฐขุรํ  ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้างหนึ่ง ๆมี ๒ กีบ.   บทว่า  อฑฺฒรตฺตาปปายึ  ความว่า เนื้อชื่อว่าดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน เพราะเลยยามแรกไปแล้ว ในเวลามัชฌิยาม จึงมาจากป่าแล้วดื่มน้ำ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้ดื่มน้ำใจเวลาเที่ยงคืน. ซึ่งเนื้อนั้น. อธิบายว่า เนื้อผู้ดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน. 

เราให้เนื้อหลานชายของเราเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว. ถามว่า ให้เรียนอย่างไร ? ตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เรียนโดยประการที่เนื้อหลานชายหายใจที่พื้นดิน โดยช่องนาสิกข้างหนึ่งลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ. 

ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ก็เราให้บุตรของเจ้าเรียนเอาแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชายกลั้นลมในช่องจมูกด้านบนข้างหนึ่งแล้วหายใจที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ โดยช่องจมูกด้านล่างข้างหนึ่งซึ่งแนบติดดิน จึงครอบงำ อธิบายว่า จึงลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยส่วน ๖ ส่วน. 

เล่ห์กล ๖ประการเป็นไฉน ? เล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยการเหยียด ๔ เท้านอนตะแคง ๑ โดยใช้กีบทั้งหลายตะกุยหญ้าและดินร่วน ๑ โดยทำลิ้นห้อยออกมา ๑ โดยกระทำท้องให้พอง ๑ โดยการปล่อยอุจจาระ ๑ ปัสสาวะ ให้ลาดออกมา ๑ โดยการกลั้นลม ๑. 

อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เนื้อหลานชายนั้นเรียนมารยาของเนื้อ โดยประการที่เขาจะลวงทำให้นายพรานเกิดความหมายรู้ว่า เนื้อนี้ตายแล้วโดยเล่ห์กล ๖ ประการนี้ คือโดยตะกุยเอาดินร่วนมาไว้ตรงหน้า ๑ โดยการโน้มตัวไป ๑ โดยการเที่ยวรนไปทั้งสองข้าง ๑ โดยการทำท้องให้พองขึ้น ๑ โดยการทำต้องให้แฟบลง ๑. 

อีกนัยหนึ่ง  เราให้เนื้อหลานชายนั่นเรียนเอาแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชายนั้นหายใจที่พื้นดินโดยช่องจมูกข้างหนึ่ง ทำกลด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือทำเล่ห์กลด้วยเหตุ ๖ ประการซึ่งได้แสดงไว้ในนัยแม้ทั้งสอง อธิบายว่า จักกระทำเล่ห์กล คือจักลวงนายพราน.

พระโพธิสัตว์เรียกเนื้อผู้เป็นน้องสาวว่า โภติ นางผู้เจริญ. ด้วยบทว่า ภาคิเนยฺโยนี้ พระโพธิสัตว์หมายถึงเนื้อหลานชายผู้ลวงด้วยเหตุ ๖ ประการด้วยประการอย่างนี้.

พระโพธิสัตว์เมื่อแสดงความที่เนื้อหลานชายเรียนมารยาของเนื้อดีแล้วจึงปลอบโยนเนื้อผู้น้องสาวให้เบาใจ ด้วยประการอย่างนี้ ลูกเนื้อแม้นั้นติดบ่วง ไม่ดิ้นรนเลยนอนเหยียดเท้าทั้ง ๔ ไปทางด้านข้างที่ผาสุกมาก ณ ที่พื้นดิน เอากีบทั้งหลายนั่นแหละคุ้ยในที่ที่ใกล้ ๆเท้าทั้ง ๔ ทำดินร่วนและหญ้าให้กระจุยขึ้น ปล่อยอุจจาระปัสสาวะออกมาทำให้หัวตกลิ้นห้อย กระทำสรีระให้เปรอะเปื้อนด้วยน้ำลาย ทำให้ตัวพองขึ้นด้วยการอั้นลม ทำนัยน์ตาทั้งสองให้เหลือก ทำลมให้เดินทางช่องนาสิกล่าง กลั้นลมทางช่องนาสิกบน ทำหัวให้แข็งแสดงอาการของเนื้อที่ตายแล้ว ฝ่ายแมลงวันหัวเขียวก็ตอมเนื้อนั้นกาทั้งหลายพากันแอบอยู่ในที่นั้น ๆ 

นายพรานมาเอามือดีดท้องคิดว่า เนื้อจักติดบ่วงแต่เช้าตรู่นัก จึงเกิดจะเน่า (ขึ้นมา) จึงแก้เชือกที่ผูกเนื้อนั้นออก คิดว่า บัดนี้ เราจักแล่เนื้อนั้นในที่นี้แหละ เอาแต่เนื้อไป เป็นผู้ไม่สงสัย เริ่มเก็บเอากิ่งไม้และใบไม้. 

ฝ่ายลูกเนื้อลุกขึ้นยืนด้วยเท้าทั้ง ๔ สลัดกายเหยียดคอแล้วได้ไปยังสำนักของมารดาโดยเร็ว ประดุจเมฆฝนถูกลมพายุใหญ่พัดขาดไปฉะนั้น. 

ฝ่ายพระบรมศาสดาตรัสว่า „ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน“ 

ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาสืบต่ออนุสนธิแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า ลูกเนื้อผู้เป็นหลานในครั้งนั้นได้เป็นราหุลในบัดนี้ฝ่ายมารดาในครั้งนั้นได้เป็นนางอุบลวรรณาในบัดนี้ ส่วนเนื้อผู้เป็นลุงในครั้งนั้นได้เป็นเราแล.

Credit: Palipage : Guide to Language - Pali

22. กุกฺกุรชาตกํ - ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า , 21.  กุรุงฺคมิคชาตกํ - ว่าด้วยกวางกุรุงคะ , 20.  นฬปานชาตกํ  -  เหตุที่ไม้อ้อเป็นรูทะลุตลอด ,  19. อายาจิตภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยการเปลื้องตน , 18.  มตกภตฺตชาตกํ - ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ , 17. มาลุตชาตกํ - ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม , 16. ติปลฺลตฺถมิคชาตกํ - ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน , 15. ขราทิยชาตกํ - ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท , 14.  วาตมิคชาตกํ - ว่าด้วยอำนาจของรส , 13. กณฺฑินชาตกํ - ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง , 12. นิคฺโรธมิคชาตกํ - ว่าด้วยการเลือกคบ , 11.  ลกฺขณมิคชาตกํ - ว่าด้วยผู้มีศีล , 10. สุขวิหาริชาตกํ - ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข , 09. มฆเทวชาตกํ - ว่าด้วยเทวทูต , 08. คามณิชาตกํ  - ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้ , 07. กฏฺฐหาริชาตกํ - ว่าด้วยพระเจ้ากัฏฐวาหนะ ,  06. เทวธมฺมชาตกํ  -  ว่าด้วยธรรมของเทวดา , 05. ตณฺฑุลนาฬิชาตกํ - ว่าด้วยราคาข้าวสาร,  04. จูฬเสฏฺฐิชาตกํ - ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้ , 03. เสริววาณิชชาตกํ - ว่าด้วยเสรีววาณิช , 02. วณฺณุปถชาตกํ - ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน , 01. อปณฺณกชาตกํ - ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ 




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: